การศึกษาแหล่งวางไข่และอนุบาลลูกปลาบึก จากฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชาติพันธุ์ ในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำโขง

Main Article Content

พลวัฒ ประพัฒน์ทอง
ปรีชา อุปโยคิน

บทคัดย่อ

การศึกษาแหล่งวางไข่และอนุบาลลูกปลาบึกจากฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชาติพันธุ์ในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำโขง ปลาบึก (Mekong giant catfish, Pangasianodon gigas) จัดเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ปลาบึกมีถิ่นอาศัยในเฉพาะแม่น้ำโขงแห่งเดียวเท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์เกี่ยวกับปลาบึกในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำโขง ที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาลุ่มน้ำโขง (GMS) การสืบค้นแหล่งวางไข่และอนุบาลลูกปลาบึกจากฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์รวมถึงการกำหนดพื้นที่การวางไข่และอนุบาลลูกปลาบึกตามระบบตำแหน่ง สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพประกอบกับการสำรวจพื้นที่แม่น้ำโขงในเขตจังหวัดเชียงราย การศึกษาพบว่าปลาบึกนั้นได้ถูกให้ความหมายแตกต่างไปตามพัฒนาการของรัฐต่าง ๆ ที่ร่วมเขตแดนและใช้แม่น้ำโขงจนความหมายปลาบึกได้หมดไปจากระบบวัฒนธรรมของชาวบ้าน แต่องค์ความรู้เรื่องปลาบึกยังคงมีอยู่ในภูมิปัญญาของไทยและลาว งานวิจัยนี้ได้ระบุพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการผสมพันธุ์และการวางไข่ปลาบึกในเขตจังหวัดเชียงราย

Article Details

How to Cite
[1]
ประพัฒน์ทอง พ. และ อุปโยคิน ป. 2018. การศึกษาแหล่งวางไข่และอนุบาลลูกปลาบึก จากฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชาติพันธุ์ ในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำโขง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 1 (ก.ค. 2018), 41–48.
บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรน้ำ. 2553. สถานการณ์แม่น้ำโขง. รายงานกรมทรัพยากรน้ำ จังหวัดเชียงราย, เชียงราย.

เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน. 2551. คู่มือฐานการเรียนรู้ปลาบึก. โครงการวิจัยปลาบึกแบบบูรณาการ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. จิกะการพิมพ์, เชียงใหม่.

ขัตติยา ขัติยวรา. 2557. การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ กรณีศึกษา: การทำตะเกียงน้ำมันพืชแบบโบราณของ ชุมชนปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 81-88.

จังหวัดเชียงราย. 2552. โครงการอนุรักษ์ปลาบึกแม่น้ำโขง, รายงานการประชุม วันที่10 มีนาคม 2552 ณ ศาลากลาง จังหวัดเชียงราย, เชียงราย.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. 2545. สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยม กับการศึกษารัฐศาสตร์. วิภาษา, กรุงเทพฯ.

นพรัตน์ ละมุล. 2549. แม่โขงโพสต์: คิดถึงปลาบึก สำนักพิมพ์ง่ายงาม, กรุงเทพฯ.
พลวัฒ ประพัฒน์ทอง. 2549. ตำราการทำนายด้วยกระดูกไก่ บ้านห้วยน้ำขุ่น อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายใน ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับไก่จากพิธีกรรมและคติความเชื่อในกลุ่มชาติพันธุจังหวัดเชียงราย. โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง, เชียงราย.

ฟูมิฮิโตะ, อะกิฌิโนะมิยะ. 2550. ไก่กับคน: จากมุมมองชีวชาติพันธุ์วิทยา. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง, กรุงเทพ.

วินัย สมประสงค์ จารุวรรณ จาติเสถียร ชนกานต์ สมิตะสิริ วรรณา ปัญจสมานวงศ์ และชัยนาท ชุ่มเงิน. 2556. บทบาทของกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืชกับการอนุรักษ์พันธุ์พืชในประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 123-128.

ศิราพร ณ ถลาง. 2548. ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน นิทานพื้นบ้าน: ศูนย์คติชนวิทยา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุกัญญา สุจฉายา. 2549. ไก่เสี่ยงทายตัวแรกจากตำนานชนชาติไทย: การตีความตำนานใน ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับไก่จากพิธีกรรมและคติความเชื่อในกลุ่มชาติพันธุจังหวัดเชียงราย. โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง, เชียงราย.