การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นประเพณีรำผีฟ้า เพื่อเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นประเพณีรำผีฟ้า หมู่ที่ 6 บ้านนาไก่เซาขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เพื่อเสริมศักยภาพการท่องเที่ยว” มีวัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเทศกาลสำคัญประเพณีรำผีฟ้าของบ้านนาไก่เซา ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive selection) การวิจัยได้ศึกษาความเหมาะสมเกี่ยวกับความ พึงพอใจของประชาชนที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียวที่ได้ระดับมากที่สุด คือ ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ซึ่งตอบวัตถุประสงค์ คือ ได้ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ และสามารถนำไปประยุกต์ปรับปรุงแผนการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ให้มีการดำเนินงานประเพณีรำผีฟ้าได้อย่างมีศักยภาพตรงตามความพึงพอใจของคนในชุมชน
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. 2540. หลักการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, ขอนแก่น.
ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล. 2556. การพัฒนาแผนการสื่อสารเชิงบูรณาการเพื่อรณรงค์ การท่องเที่ยวชุมชนบ้านหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 31-40.
ทำนอง พิลาอร. 2556. ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านนาไก่เซา ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. สัมภาษณ์.
บุญชม ศรีสะอาด. 2553. การวิจัยเบื้องต้น. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาสารคาม. 219 หน้า.
ประภาส สะท้านอิทธิฤทธิ์ และอุดมภูเบศวร์ จูมพลหล้า. 2548. บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมในจังหวัดสกลนคร. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร, สกลนคร. 116 หน้า.
ปัณฑิตา ชาติประมง. 2550. วรรณกรรมท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล http://www. culture.go.th/ research/isan/51_3.html (3 มกราคม 2556).
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2530. การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ. 170 หน้า.
พัชนี สภา พนารัตน์ สุภาคาร และกนกนวล ผาป้อง. 2548. บทบาทด้านวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี, อุบลราชธานี. 54 หน้า.
ละออง กงชัยภูมิ. 2556. บ้านเลขที่ 290 หมู่ที่ 7 บ้านใหม่นาสีนวล ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. สัมภาษณ์.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2555. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล http://www.nesdb.go. th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf (10 มกราคม 2556).
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. ม.ป.ป. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป. สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา, กรุงเทพฯ. 46 หน้า.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา. 2551. การมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมและชุมชนในการบริหารจัดการวัฒนธรรม: กรณีศึกษาประเพณีสู่ขวัญข้าว บ้านพรหมราช ตำบลตูม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา, นครราชสีมา. 74 หน้า.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร. 2551. วิจัยโครงการอนุรักษ์ประเพณีการแต่งงานแบบมีพ่อล่าม–แม่ล่าม ของชาวผู้ไทย กรณีศึกษา บ้านนาหนองแคน ตำบลหนองสูง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. สภาวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร, มุกดาหาร. 20 หน้า.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย. 2551. การอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิ์ชัย ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย, เลย. 113 หน้า.
อำนาจ รอนไพรินทร์. 2556. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านนาวัง ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. สัมภาษณ์.