แนวทางการพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

สุวิภา จำปาวัลย์
ธันยา พรหมบุรมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและพัฒนาความรู้ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อสร้างองค์กรและกลไกในการจัดการท่องเที่ยวแบบครบวงจร โดยชุมชนมีส่วนร่วม ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการท่องเที่ยวตำบลบ้านเรือน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม จัดทำเอกสารคู่มือประกอบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน ประชุมระดมสมอง ศึกษาดูงาน และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวแบบครบวงจร รวมทั้งการจัดเส้นทางท่องเที่ยว อบรมยุวมัคคุเทศก์ในท้องถิ่น กำหนดกิจกรรมท่องเที่ยว การทดลองนำเที่ยว การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว โดยมีการนำกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกชุมชน ร่วมทดลองและประเมินผลการท่องเที่ยว เพื่อให้คณะกรรมการท่องเที่ยวตำบลบ้านเรือนสามารถนำผลการประเมินนั้นมาพัฒนาปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว และการบริหารจัดการท่องเที่ยวในชุมชน           โดยผลการวิจัยได้เผยแพร่เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนได้

Article Details

How to Cite
[1]
จำปาวัลย์ ส. และ พรหมบุรมย์ ธ. 2018. แนวทางการพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 1 (ก.ค. 2018), 5–16.
บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2549. จำนวนผู้เยี่ยมเยือน จำแนกตามจำนวนครั้งในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดนี้ในรอบ 1 ปี ปี 2549. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www2.tat.or.th/stat/download/ tst/503/ profile49 (Lamphun).xls (12 ธันวาคม 2556).

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. 2546. การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล. 2556. การพัฒนาแผนการสื่อสารเชิงบูรณาการเพื่อรณรงค์ การท่องเที่ยวชุมชนบ้านหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 31-40.

นิคม จารุมณี. 2544. การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

ปิ่นเพชร จำปา. 2545. วัฒนธรรมการท่องเที่ยวของคนไทย พ.ศ.2394-2544. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. 2550. กลุ่มโบราณสถานวียงเกาะกลาง. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้เอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาเพื่อการจัดการท่องเที่ยว: ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน, ลำพูน.

สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2549. สำรวจงานศึกษาว่าด้วย “ผลกระทบทางสังคมจากการท่องเที่ยว”. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.

สํานักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2550. คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรม. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. tourism.go.th/home/ details/11/7/215 (12 ธันวาคม 2556).