การใช้ฝุ่นหินภูเขาไฟในผลิตภัณฑ์บล็อกประสาน

Main Article Content

ประชุม คำพุฒ
กิตติพงษ์ สุวีโร
อมเรศ บกสุวรรณ
นิรมล ปั้นลาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ฝุ่นหินภูเขาไฟ (หินบะซอลต์เนื้อโพรงข่าย) ในผลิตภัณฑ์บล็อกประสาน กำหนดอัตราส่วนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1: ฝุ่นหินภูเขาไฟ: เท่ากับ 1:6, 1:7, 1:8, 1:9, 1:10 และ 1:11 โดยน้ำหนัก ใช้ปริมาณน้ำประปา ร้อยละ 10 ของน้ำหนักส่วนผสมทั้งหมด ขึ้นรูปบล็อกประสาน ขนาด 10 x 10 x 20 เซนติเมตร ด้วยเครื่องอัดแบบมือโยก ทดสอบตามมาตรฐาน มผช. 602 – 2547 เรื่องอิฐบล็อกประสาน ผลการทดสอบ พบว่า บล็อกประสานฝุ่นหินภูเขาไฟ มีความหนาแน่น ความต้านทานแรงอัด และสัมประสิทธิ์การนำความร้อนลดลง    ส่วนการดูดกลืนน้ำมีค่าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บล็อกประสานอัตราส่วนที่มีฝุ่นหินภูเขาไฟน้อยกว่าอัตราส่วน 1:8 มีสมบัติผ่านตามที่มาตรฐานกำหนด

Article Details

How to Cite
[1]
คำพุฒ ป., สุวีโร ก., บกสุวรรณ อ. และ ปั้นลาย น. 2018. การใช้ฝุ่นหินภูเขาไฟในผลิตภัณฑ์บล็อกประสาน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 2 (ก.ค. 2018), 239–247.
บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี. 2553. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดบุรีรัมย์. กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพ.

ชัชวาลย์ เศรษฐบุตร สมหวัง แม้นพิมลชัย สมชาย จิตต์วโรดม และธีระยุทธ พันธ์มีเชาว์. 2547. ปูนซีเมนต์และการประยุกต์ใช้งาน. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด, กรุงเทพ.

ดนุพล ตันนโยภาส. 2552. วิทยาแร่. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ดนุพล ตันนโยภาส. 2553. แร่และหิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

นันทชัย ชูศิลป์. 2556. หน่วยน้ำหนักและกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตพรุนผสมกะลาปาล์มน้ำมัน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 97-106.

ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. 2556. การป้องกันสารพิษจากบ่อฝังกลบขยะซึมลงน้ำใต้ดินโดยใช้น้ำยางธรรมชาติ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 101-109.

ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. 2557. การใช้เศษหินภูเขาไฟสำหรับพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อก. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 19. 14-16 พฤษภาคม 2557. โรงแรมพลูแมน ขอนแก่น ราชา ออร์คิด, ขอนแก่น.

สมพิศ ตันตวรนาท ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. 2555. การเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นฉนวนความร้อนและการรับกำลังของคอนกรีตบล็อกผสมน้ำยางธรรมชาติ: กรณีผสมมวลรวมขนาดต่างกัน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 17. 9-11 พฤษภาคม 2555. โรงแรมเซ็นทาราโฮเทล แอนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์, อุดรธานี.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.). 2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเรื่องอิฐบล็อกประสาน (มผช.602-2547). สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ.

American Society for Testing and Materials (ASTM). 2010. Standard Test Method for Steady-State Heat Flux Measurements and Thermal
Transmission Properties by means of Guarded Hot Plate Apparatus (ASTM C177 – 10). ASTM International, Conshohocken, PA.

El-Alfi, E.A., A.M. Radwan, and M.H. Ali. 2004. Physico-mechanical properties of basalt bricks. International Ceramic Review 53(3): 178–181.

Young, H. D. 1992. Hyper Physics. University Physics. Addison Wesley, Reading, MA.

Youssef, N.F., T.A. Osman, E. El-Shimy, and H.F. Abadir. 2004. Utilization of granite–basalt fine quarry waste in a ceramic floor tile mixture. Silicates Industrials 69 (1–2): 7–13.