กลยุทธ์การปรับตัวของท่าเรือเชียงของจากการมี เส้นทางขนส่งสินค้าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4

Main Article Content

ธนภณ เจียรณัย
จารุวิสข์ ปราบณศักดิ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับท่าเรือเชียงของจากการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการกำหนดบทบาทและการปรับตัวของท่าเรือเชียงของในอนาคตให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทย การวิเคราะห์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลสถิติและอนุกรมเวลา การลงสำรวจสถานการณ์การค้า กิจการการขนส่งในพื้นที่ศึกษา และการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศจำนวน 73 ราย การศึกษาพบว่าในอนาคตท่าเรือเชียงของอาจจำเป็นต้องลดบทบาทในด้านการสนับสนุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศลง อย่างไรก็ดี การท่าเรือแห่งประเทศไทยยังมีกิจกรรมที่มีศักยภาพและควรได้รับการสนับสนุนให้มีการดำเนินการทดแทนกิจกรรมดั้งเดิมของท่าเรือเชียงของ เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 อาทิ การพัฒนาท่าเรือบก หรือ Inland container depot (ICD) หรือ สิ่งอำนวยความสะดวกการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างประเทศ เป็นต้น

Article Details

How to Cite
[1]
เจียรณัย ธ. และ ปราบณศักดิ์ จ. 2018. กลยุทธ์การปรับตัวของท่าเรือเชียงของจากการมี เส้นทางขนส่งสินค้าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 2 (ก.ค. 2018), 229–238.
บท
บทความวิจัย

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. 2551. การศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมการส่งออก. 2555. โครงการศึกษาเส้นทางการขนส่งระหว่างจีนตอนใต้ – ไทย – อินเดีย. กรมส่งเสริมการส่งออก, กรุงเทพฯ.

ด่านศุลกากรเชียงของ. 2557. สถิติการนำเข้า-ส่งออกรายเดือนผ่านด่านศุลกากรเชียงของ. ด่านศุลกากรเชียงของ, เชียงราย.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. 2553. การศึกษาสำรวจออกแบบรายละเอียดและการบริหารจัดการศูนย์เปลี่ยนถ่าย รูปแบบการขนส่งสินค้า (intermodal facilities) ที่เชียงแสนและเชียงของ จังหวัดเชียงราย. กระทรวงคมนาคม, กรุงเทพฯ.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. 2557. โครงการศึกษาพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ เชื่อมโยงกับเขตพื้นที่ฐานการผลิตหลักของประเทศ. กระทรวงคมนาคม, กรุงเทพฯ.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย. 2555. การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย. กระทรวงพาณิชย์, กรุงเทพฯ.

สำนักท่าเรือภูมิภาค. 2557. โครงการศึกษาผลกระทบและแนวทางการปรับตัวของท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนและท่าเรือเชียงของเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการมีเส้นทางการขนส่งสินค้าผ่านสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ–ห้วยทราย). การท่าเรือแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

อุบลรัตน์ หยาใส่ และจิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. 2557. แนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 233-243.

Hensher, D.A., J.M. Rose and W.H. Greene. 2005. Applied Choice Analysis: A Primer. Cambridge University Press, Cambridge, U.K.