กรรมวิธีการคงสภาพสาหร่ายสไปรูลิน่าสด เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ในอาหารปลาแฟนซีคาร์ฟ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษากรรมวิธีการคงสภาพสาหร่ายสไปรูลิน่าสดแต่ละวิธี เพื่อเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการ วางแผนการทดลองแบบ CRD เป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ดังนี้ T1) วิธีการใช้ความร้อน T2) วิธีการลดสัดส่วนปริมาณน้ำและของแข็ง T3) วิธีการใช้สมุนไพร และ T4) วิธีการใช้สารเคมี เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ระยะเวลา 30 วัน และวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า T3 มีค่าความชอบโดยรวมและโปรตีน มากกว่าการทดลองอื่น ๆ นำสไปรูลิน่าสดที่ได้จากกรรมวิธีการคงสภาพแต่ละวิธีผสมกับอาหารปลาทั่วไปและนำไปทดสอบความชอบโดยรวม พบว่า T3 และ T2 มีค่ามากกว่าการทดลองอื่น ๆ นำอาหารผสมไปทดสอบการเจริญเติบโต สารสี ภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และต้นทุนการผลิตปลาแฟนซีคาร์ฟ แบ่งการทดลองเป็น 3 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ดังนี้ T1) อาหารปลาทั่วไป T2) อาหารปลาทั่วไป+สาหร่ายสด 35% จากกรรมวิธีลดสัดส่วนปริมาณน้ำและของแข็ง และ T3) อาหารปลาทั่วไป+สาหร่ายสด 35% จากกรรมวิธีใช้สมุนไพร อาหารปลามีโปรตีนเฉลี่ย 26.38% น้ำหนักลูกปลาเริ่มต้น 2 กรัม/ตัว อัตราการปล่อย 10 ตัว/ตารางเมตร ให้อาหารอัตรา 5% ต่อน้ำหนักตัวต่อวัน เก็บตัวอย่างทุก ๆ 15 วัน ระยะเวลา 180 วัน พบว่า T3 มีการเจริญเติบโต สารสีบนตัวปลา และภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะมากกว่าการทดลองอื่น ๆ สรุปได้ว่ากรรมวิธีการคงสภาพสไปรูลิน่าสดวิธีการใช้สมุนไพร มีความชอบโดยรวม และโปรตีนสูง สูตรอาหารปลาทั่วไปผสมสาหร่ายสด 35% จากวิธีใช้สมุนไพร มีค่าความชอบโดยรวมมากกว่าการทดลองอื่น ๆ และปลาแฟนซีคาร์ฟ มีการเจริญเติบโต สารสีบนตัวปลา ภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะดีกว่าการทดลองอื่น
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
จงกล พรมยะ และเพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร. 2546. การใช้สาหร่าย Spirulina platensis เพื่อเร่งสีปลาแฟนซีคาร์ฟ. การประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 20–21 มีนาคม 2546 ห้องประชุม 10 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ .
จงกล พรมยะ และขจรเกียรติ แซ่ตัน. 2548. การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าเพื่อสุขภาพ. โรงพิมพ์สิรินาฎการพิมพ์, เชียงใหม่. 39 หน้า.
จงกล พรมยะ และศิริเพ็ญ ตรัยไชยาพร. 2548. การเพาะเลี้ยงสาหร่าย สไปรูลิน่าในน้ำทิ้งจากโรงอาหารและน้ำหมักกากถั่วเหลือง. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 วันที่ 18-20 ตุลาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัย สุรนารี จังหวัดนครราชสีมา.
จงกล พรมยะ บัญชา ทองมี และขจรเกียรติ์ แช่ตัน. 2555. ผลของการใช้สไปรูลิน่าต่อการเจริญเติบโต ความสมบูรณ์เพศ และระบบภูมิคุ้มกันในปลาแฟน ซีคาร์ฟ (Cyprinus carpio Linnaeus). วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง 6(1): 11-22.
จงกล พรมยะ และชนกันต์ จิตมนัส. 2556. การเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของสาหร่าย สไปรูลิน่าสายพันธุ์ แม่โจ้กับสายพันธุ์อื่น ๆ ในระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 62 หน้า.
ธัชศึก คุ้มพร้อม จงกล พรมยะ เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน นิวุฒิ หวังชัย และชนกันต์ จิตมนัส. 2554. ผลของสาหร่าย สไปรูลิน่า และสาหร่ายไก ต่อการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน และการปรับปรุงสีของปลาทอง (Carassius auratus). วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 16(6): 612-621.
อรพินท์ จินตสถาพร จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ อรทัย จินตสถาพร ศรีน้อย ชุ่มคำ ฉัตรชัย ไทยทุ่งฉิน และ สาธิต บุญน้อม. 2556. การปรับปรุงคุณภาพเนื้อปลาสลิดด้วยของเหลือ จากการตัดแต่งเห็ดนางฟ้าในอาหารปลา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 125-133.
อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล และบุษกร บำรุงธรรม. 2543. อาหารปลาสวยงาม. สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงาม และสถานที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ, กรุงเทพฯ. 16 - 19 หน้า.
AOAC (Association of Official Analytical Chemists). 1990. Official Methods of Analysis. AOAC, Washington DC.
Berns, D.S., H.L. Crespi and J.J. Katz. 1963. Isolation, amino acid composition and some physico-chemical properties of the protein deuterio-phycocyanin. Journal of Aquatic Animal Chemistry Society 85: 8-14.
Boyd, C.E. 1992. Water Quality and Pond Soil Analyses for Aquaculture. Auburn University, Alabama.
Duncan, P.L. and P.H. Klesius. 1996. Effects of feeding Spirulina on specific and non – specific immune responses of channel catfish. Journal of Aquatic Animal Health 8: 308–313.
Goñi, P., P. López, C. Sánchez, R. Gómez-Lus, R. Becerril and C. Nerín. 2009. Antimicrobial activity in the vapour phase of a combination of cinnamon and clove essential oils. Food Chemistry 116 (4): 982-989.
Kim, J.W. and K.H. Kyung. 2003. Antiyeast activity of heated garlic in the absence of allinase enzyme action. Journal Food Science 68: 1766-1770.
Lu, J. and T. Takeuchi. 2004. Taste of Tilapia Oreochromis niloticus fed solely on raw Spirulina. Fisheries Science 68 (supp.1): 987 – 988.
Nakamura, H. 1982. Spirulina: Food for Hungry World. University of the Trees. Press, Boulder Creek, California.
Nakono, T., T. Yamaguchi., M. Sato and G. K. Iwama. 2003. Biological effects of carotenoids in fish. In: International Seminar on Effective Utilization of Marine Food Resource. Songkhla, Thailand. pp. 1–15.
Roller, S. 1995. The quest for natural antimicrobials as novel means of food preservation: Status report on a European research project. International Biodeterioration and Biodegradation 36 (3): 333-345.
Sardar, M.R., K.D. Thompson, D.J. Penman and B.J. McAndrew. 2001. Immune responses of Nile tilapia (Oreochromis niloticus Linn.) clones: I. Non–specific responses. Developmental and Comparative Immunology 25: 37-46.
Singh, A., R.K. Singh, A.K. Bhunia and N. Singh. 2003. Efficacy of plant essential oils as antimicrobial agents against Listeria monocytogenes in hotdogs. Lebensmittel-Wissenschaft und Technology 36: 787-794.
Tzortzakis, N.G. 2009. Impact of cinnamon oil-enrichment on microbial spoilage of fresh produce. Innovative Food Science & Emerging Technologies 10(1): 97-102.
Valero, M. and M.C. Salmeron. 2003. Antibacterial activity of 11 essential oils against Bacillus cereus in tyndallized carrot broth. International Journal Food Microbiology 85: 73-81.
Vonshak, A. 1997. Spirulina platensis (Arthrospira): Physiology, Cell - Biology and Biotechnology. Taylor & Francis, London. 540 pp.