การเสริมสร้างศักยภาพการผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: กรณีชุมชนตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ตุนท์ ชมชื่น
สมชาย ใจบาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการผลิต  ผลิตภัณฑ์ชุมชน  “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีชุมชนตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม โดยดำเนินในพื้นที่ชุมชนตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีสตรีผู้ผลิตผ้าทอกะเหรี่ยงเข้าร่วมโครงการ 50 คน จาก 3 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านรวมมิตร ชุมชนบ้านห้วยขม และชุมชนแคววัวดำ ผลการวิจัยพบว่า ผ้าทอกะเหรี่ยง เป็นผ้าทอที่คงความเป็นเอกลักษณ์เดิมในความเป็นวัฒนธรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยงทั้งในด้านวิธีการ ขั้นตอนการทอและลวดลายต่าง ๆ การเสริมสร้างศักยภาพการผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน “ผ้าทอผ้ากะเหรี่ยง” มีกระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ คือ สตรีที่เข้าร่วมโครงการ มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจ พึงพอใจในการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงของตนและความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งและมีความความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงในระดับมาก

Article Details

How to Cite
[1]
ชมชื่น ต. และ ใจบาน ส. 2018. การเสริมสร้างศักยภาพการผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: กรณีชุมชนตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 2 (ก.ค. 2018), 203–214.
บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. 2548. ความเป็นมาและสาระสำคัญของแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน), กรุงเทพฯ.

ฤชุอร แซ่โกย. 2544. อาชีพการทอผ้ากี่เอวของชนเผ่ากะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

บำรุง บุญปัญญา. 2548. แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน), กรุงเทพฯ.

พรเพ็ญ ทับเปลี่ยน. 2543. การวิเคราะห์การอยู่รอดของชุมชนในเศรษฐกิจการค้า. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วัลย์ลิกา สรรเสริญชูโชติ. 2545. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตและระบบความสัมพันธ์ทางสังคมในมิติหญิงชายของชุมชนกะเหรี่ยง: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านทิพุเย หมู่ที่ 3 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ ศิริรักวงษา. 2550. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการทอผ้าไหมลายกะเหรี่ยงอำเภอบ้านคาจังหวัดราชบุรี. สำนักงานจังหวัดราชบุรี, ราชบุรี.

สมนึก ปัญญาสิงห์ เศกสรรค์ ยงวณิชย์ และพุทธรักษ์ ปราบนอก. 2557. ตัวแบบการจัดการการพัฒนาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 11-22.

สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์ . 2551. การวิเคราะห์การก่อเกิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยปฏิฐานนิยมและหลังปฏิฐานนิยม. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. 2542. การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชนบท. กองโครงการและประสานงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550. แนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก. 2551. กระบวนการผลิตและลายของผ้าทอกะเหรี่ยงจังหวัดตาก: กรณีศึกษาบ้านป่าไร่เหนือหมู่ที่ 3 ตำบลพระธาตุอำเภอแม่ระมาดจังหวัดตาก. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก, ตาก.

สุกัญญา ดวงอุปมา. 2557. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 133-139.

สุนทร เกตุอินทร์. 2543. ประวัติความเป็นมาโครงสร้างลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงเทคนิคการผลิตการจัดหมวดหมู่ผ้าทอวัสดุอุปกรณ์และกรรมวิธีการผลิตของผ้าทอกะเหรี่ยงอำเภอบ้านไร่จังหวัดอุทัยธานี. สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี, อุทัยธานี.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. 2544. ภูมิปัญญาชาวบ้านกับกระบวนการเรียนรู้และการปรับตัวของชาวบ้าน. อมรินทร์, กรุงเทพฯ.

Rogers, E. M. 2003. Diffusion of Innovations. 5th ed. Free Press, New York.