ผ้าพื้นเมืองไทพวน: ลวดลายและเส้นสายอารยะธรรมบ้านเชียง จากอดีตสู่ปัจจุบัน

Main Article Content

ธำรงชาติ วงศ์อารีย์
ไวพจน์ ดวงจันทร์
ภูมิพัฒน์ ชมพูวิเศษ
ภาณุมาศ พุฒแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาแนวคิด และกระบวนการออกแบบลวดลายผ้าพื้นเมืองไทพวนในปัจจุบัน  เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 แนวคิดและกระบวนการของการออกแบบลวดลายผ้าโดยตัวแปรที่ศึกษา คือ หลักและวิธีการคิดการออกแบบลวดลายในลักษณะต่าง ๆ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ส่วนระยะที่ 2 พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการกับการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) การฝึกอบรมให้ความรู้ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการและสนทนากลุ่ม จากประชากรกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าชุมชนไทพวน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดการออกแบบลวดลายผ้าพื้นเมืองไทพวน ได้มาจากลวดลายบนไหที่ติดอยู่กับวัตถุโบราณที่ขุดค้นพบโดยผสมผสานกับลวดลายพื้นบ้าน เช่น ลายกระจับ ซึ่งโดดเด่นและมีความแตกต่างจากท้องถิ่นอื่น ๆ คือ ลวดลายที่เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของไทพวน และการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนเกิดเป็นความชำนาญและสามารถสร้างงาน จะหัดทำและเรียนรู้จนเกิดเป็นความเชี่ยวชาญ กระบวนการออกแบบลวดลายผ้าพื้นเมืองไทพวนในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการจดจำจากประสบการณ์ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  เป็นการนำเอารูปแบบของลวดลายดั้งเดิมมาใช้ หากแต่ผสมผสานลวดลายจากผืนหนึ่งมารวมกับอีกผืนหนึ่งเพื่อให้เกิดเป็นลายใหม่ และสมาชิกในกลุ่มจะนำลวดลายที่ได้มาทอแล้วถ่ายทอดให้แก่ลูกหลาน ซึ่งในระบบการผลิตหรือการทอ ยังมีการใช้แรงคนในการทอผ้า เพื่อให้ลวดลายผ้ามัดหมี่ทอออกมาตรงกับลายที่มัดไว้อย่างประณีตสวยงาม

Article Details

How to Cite
[1]
วงศ์อารีย์ ธ., ดวงจันทร์ ไ., ชมพูวิเศษ ภ. และ พุฒแก้ว ภ. 2018. ผ้าพื้นเมืองไทพวน: ลวดลายและเส้นสายอารยะธรรมบ้านเชียง จากอดีตสู่ปัจจุบัน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 2 (ก.ค. 2018), 195–202.
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. 2553. แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2553 (OTOP Product Champion: OPC). กรมพัฒนาชุมชน, กรุงเทพฯ.

ปวินรัตน์ แซ่ตั้ง. 2556. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติผ่านกระบวน การย้อมสีธรรมชาติ โดยการใช้สารช่วยย้อมจากน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 99 – 22.

วัลลภ ทองอ่อน. 2557. พัฒนาการการผลิตและหน้าที่ทางสังคม ของผ้าไหมสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการ พัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 153 - 159.

วุฒิพงษ์ ฉั่วตระกูล พิญญ์ ตนานนท์ และกอบกาญจน์ พจน์ชนะชัย. 2556. การพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทาง การตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มหัตถกรรม ผ้าทอไทลื้อ บ้านลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 171 - 182.

เสรี เพิ่มชาติ อัญชลี จันทาโภ วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และพฤกษ์ จิรสัตยาภรณ์. 2556. การจัดการความรู้เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าผ้าจกราชบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 183-194.

ศรีวรรณ จันทร์หงษ์. 2542. การพัฒนาหลักสูตรเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องงานจักสาน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6: ศึกษากรณีโรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.http://ink361.com/app/users /ig-9446157/natporn/photos. (23 มีนาคม 2558).