การจดั การความรู้ด้านการออกกำลังกายแบบ มีส่วนร่วมของชุมชนตำบลแม่กา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

สราวุฒิ พงษ์พิพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พัฒนาเทคโนโลยีและประเมินความพึงพอใจในการส่งเสริมการออกกำลังกายของชุมชนตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 16 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 223 คน แยกเป็นกลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำการออกกำลังกาย และผู้ออกกำลังกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์บุคคล การสัมภาษณ์กลุ่ม และการระดมสมอง ผลการวิจัย 1) กระบวนการเรียนรู้ พบว่าผู้นำความรู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม แต่ขาดการกำหนดกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย 2) การพัฒนาเทคโนโลยีการส่งเสริมการออกกำลังกาย พบว่าชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญในการวางแผนการดำเนินงาน โดยประยุกต์การจัดการความรู้มาใช้ในการจัดการด้านการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมกับเพศ วัย และสภาพร่างกาย 3) การประเมินความพึงพอใจ พบว่าอุปกรณ์มีความแข็งแรง ใช้งานง่าย ปลอดภัย และเพิ่มแรงจูงใจ สำหรับการจัดการความรู้ด้านการออกกำลังกาย มีข้อค้นพบ 3 ประการ คือ 1) ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ พบว่าต้องอาศัยการทำงานของชุมชนนักปฏิบัติ โดยใช้ค่านิยมการมีส่วนร่วมของภาคี และการกำหนดความรู้ด้านการออกกำลังกาย 2) กระบวนการจัดการความรู้ พบว่ามี 4 ขั้นตอน คือ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดระบบความรู้ การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ 3) วัฒนธรรมการเรียนรู้ พบว่าเป็นผลลัพธ์จากปัจจัยเอื้อและกระบวนการจัดการความรู้ ที่ส่งผลทำให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ 3 ประการ คือ การมีส่วนร่วม สมรรถภาพทางกาย และความพึงพอใจ

Article Details

How to Cite
[1]
พงษ์พิพัฒน์ ส. 2018. การจดั การความรู้ด้านการออกกำลังกายแบบ มีส่วนร่วมของชุมชนตำบลแม่กา จังหวัดพะเยา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 2 (ก.ค. 2018), 185–194.
บท
บทความวิจัย

References

เกษม นครเขตต์. 2555. ศิลปะแห่งกีฬา (The Art of Sports). เพชรเกษมพริ้นติ้ง, นครปฐม.

บดินทร์ วิจารณ์. 2547. การจัดการความรู้...สู่ปัญญาปฏิบัติ. เอ็กซเปอร์เน็ท, กรุงเทพฯ.

บุญดี บุญญากิจ. 2548. การจัดการความรู้...จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จิรวัฒน์เอ็กซ์เพรส, กรุงเทพฯ.

ประมาณ เทพสงเคราะห์ จรินทร์ เทพสงเคราะห์ อดิศร ศักดิ์สูง ศุภการ สิริไพศาล พรศักดิ์ พรหมแก้ว และวรุตม์ นาที. 2556. การจัดการความรู้บนพื้นฐานทุนชุมชนเพื่อการพัฒนา คุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 217-231.

วิจารณ์ พานิช. 2547. การจัดการความรู้: ปัญญาที่ต้องสร้าง ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://fms.vru.ac.th/ kmfms/9KM_Kcreation_HSRI.doc (12 มกราคม 2552).

สถาบันพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา. 2548. การจัดการความรู้ในสถานศึกษา. สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. 2554. กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ระดับชาติ ปี 2554 -2558. สามเจริญพาณิชย์, กรุงเทพฯ.

American College of Sports Medicine. 1995. ACSM’s Guidelines for Exercise Testing and Prescription. 5th ed Williams & Wilkins, Baltimore.
McKeen, J.D., and H.A. Smith 2003. Marketing IT Happen: Critical Issues in IT Management. Wiley, Ontario.