พฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคะยาง จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ณิชารีย์ ใจคำวง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านปากคะยาง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประชากร คือ ประชาชนที่ได้รับการคัดกรองและขึ้นทะเบียนกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 616 คน จำนวนตัวอย่างคำนวณจากสูตร Taro Yamane ได้จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการพรรณาความ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในภาพรวมอยู่ในระดับเสี่ยงปานกลาง ( = 2.76, SD = 1.89) พฤติกรรมการออกกำลังกายมีระดับเสี่ยงมากที่สุด ( = 1.87, SD = 1.02) โดยส่วนมากไม่ได้ออกกำลังกาย เนื่องจากใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพ พฤติกรรมเสี่ยงรองลงมาคือ การบริโภคอาหาร ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ( = 2.45, SD = 0.95) เนื่องจากบริโภคนิสัยและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยส่วนใหญ่ชอบอาหารรสเค็ม หวาน เผ็ด นิยมปรุงอาหารด้วยการเติมผงปรุงรส น้ำปลา น้ำตาล มีพฤติกรรมเสี่ยงทางอารมณ์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ มีระดับเสี่ยงปานกลาง ( = 3.20, SD = 1.09) ( = 3.13, SD = 1.48) ( = 3.17, SD = 1.62) ส่วนใหญ่สูบยาเส้นเป็นประจำหลังรับประทานอาหารเพราะเชื่อว่าทำให้ดับกลิ่นคาวปากและช่วยคลายความเครียด ดื่มสุราภายหลังจากการทำงาน เพื่อให้เจริญอาหารและช่วยให้หายจากการปวดเมื่อยตัว หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ควรสร้างความตระหนักให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรครวมทั้งส่งเสริมการจัดการความรู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
[1]
ใจคำวง ณ. 2018. พฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคะยาง จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 2 (ก.ค. 2018), 173–184.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. 2554. การควบคุมดูแลโรคความดันโลหิตสูง. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ.

กรมการแพทย์. 2549. แนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลโภชนบำบัดในโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและภาวะไขมันในเลือดผิดปกติสำหรับผู้สูงอายุ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.

กรมควบคุมโรค. 2556. รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี พ.ศ. 2554. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://203.157.15.4/wesr/file/ y56/F56101_1348.pdf (20 เมษายน 2558).

กรมควบคุมโรค. 2558. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2544-2554. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://thaincd. com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php (20 เมษายน 2558).

กิตติศักดิ์ พรมดาว กมลทิพย์ เทียมทัด และสุปราณี การพึ่งตน. 2556. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 19(1): 19-30.

กุลพิมล เจริญดี และนิตยา พันธุเวทย์. 2552. นโยบายในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในกลุ่มงานไม่ติดต่อ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://portal.in. th/files/2/4/2/2009/11/06/DMday2009.pdf (26 พฤษภาคม 2557).

จักรกฤษณ์ พิญญาพงษ์. 2555. ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.

จินดาพร ศิลาทอง. 2553. พฤติกรรมการสูบบุหรี่. บริษัท สยามมาพร จำกัด, กรุงเทพฯ.

ณัฐรินีย์ หนูเทพ และสกาวเดือน ขาวล้วน. 2553. การศึกษาความรู้ พฤติกรรม ทัศนคติ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน เส้นเลือดในสมอง และภาวะอ้วน หมู่ที่ 4,5,7 ตำบลบ่อหิน อำเภอ สีเกา จังหวัดตรัง. รายงานวิจัย. สถานีอนามัยไร่ออก, ตรัง.

มงคล การุณงามพรรณ สุดารัตน์ สุวารี และนันทนา น้ำฝน. 2555. พฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของคนทำงานในสถานประกอบการเขตเมืองใหญ่: กรณีศึกษาพื้นที่เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 32(3): 51-66.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาวเรือง. 2554. ปัจจัยและพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยงในตำบลดาวเรือง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. รายงานวิจัย. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาวเรือง, สระบุรี.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านปากคะยาง. 2556. ทะเบียนรายงานการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ 2556. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคะยาง, สุโขทัย.

วิชิต อินทร์ลำพันธ์. 2549. ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานของประชาชนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2549. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปกร, กรุงเทพฯ.

ศันสนีย์ กระจ่างโฉม และสุวิภา จำปาวัลย์. 2557. การบริโภคอาหารที่ทำให้มีอายุยืนยาวของผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 161-170.

สถาบันวิจัยและประมาณเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์. 2556. สถานการณ์โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนในประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. dms.moph.go.th/imrta/images/data/doc_dm_ht.pdf (1 พฤษภาคม 2557).

สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์. 2557. ความดันโลหิตสูง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. yourhealthyguide.com/article/ah-hypertension-2.html (18 พฤษภาคม 2557).

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. 2555. สถิติโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.lpho.go.th/ letsgo/index.php/songserm (18 พฤษภาคม 2557).

Bandura, A. 1986. Social Learning Theory. General Learning Press, New York.

Cronbach, L. J. 1970. Essentials of Psychological Testing. 3rd Ed. Harper & Row, New York.