รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาสังคมและชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สุนทรี สุรัตน์
เกวลี เครือจักร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบและประเมินศักยภาพการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมกลุ่มผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่รวมทั้งเผยแพร่รูปแบบให้แก่ชุมชนอื่น ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมเพื่อเก็บข้อมูลบริบท สถานการณ์ผู้สูงอายุและการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในชุมชน การวิเคราะห์ SWOT โดยกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่าชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลแม่จัน มีตำแหน่งยุทธศาสตร์การทำงานในเชิงรุก มุ่งเน้นการใช้ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็งในการขยายงาน/กิจกรรมที่มีอยู่เดิม พร้อมกับใช้ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาสสร้างกิจกรรมใหม่ เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยจัดทำแผนระยะสั้นและแผนระยะยาว และชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลแม่จันก็ได้ดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรมที่ได้วางแผนไว้ทั้งหมดโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย จากการประเมินรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายภาคประชาสังคมพบว่ามีความเหมาะสม สอดคล้อง เพียงพอและสามารถดำเนินการได้มากที่สุด ในกระบวนการถ่ายทอดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสู่ชุมชนอื่น ได้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีชมรมผู้สูงอายุที่ให้การตอบรับและจะนำรูปแบบไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
สุรัตน์ ส. และ เครือจักร เ. 2018. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาสังคมและชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 2 (ก.ค. 2018), 161–171.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. 2553. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564). เทพเพ็ญวาสนิสย์, กรุงเทพฯ. 419 หน้า.

สุพิมล ขอผล จินตวีร์พร แป้นแก้ว ธณัชช์นรี สโรบล สมพร สิทธิสงคราม สายัณห์ ชัยศรีสวัสดิ์ สุมาลี ชัยศรีสวัสดิ์ และประจวบ หน่อศักดิ์. 2557. การใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการดื่มสุราในชุมชนหมู่บ้านหนองเต่าคำใหม่ ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 313-324.

พันธุ์ทิพย์ รามสูต. 2540. การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน, นครปฐม. 215 หน้า.

ไพรชล ตันอุด. 2552. การมีส่วนร่วมของผู้นำและประชาชนในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง เมืองน่าอยู่: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 116 หน้า.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. 2547. การฟื้นฟูพลังชุมชนด้วยการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์: แนวคิด วิธีการและประสบการณ์จากจังหวัดน่าน. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 192 หน้า.

สำรวย ผัดผล. 2543. การศึกษาขบวนการทางสังคมแนวใหม่: กรณีศึกษาเครือข่ายฮักเมืองน่าน. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 93 หน้า.

United Nations. 2002. Public participation documents from the conference on public participation between Asia and Europe during June 10-12, 2002 at the United Nations Center in Bangkok. Thailand Environment Institute, Bangkok. 416 p.