การพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมผลไม้เพื่อสุขภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยน้ำกืน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
เสาวรสและเคพกูสเบอรี่เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นแหล่งที่ดีของวิตามินเอและวิตามินซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยผลไม้ทั้งสองชนิดนี้ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยน้ำกืน อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมจากเสาวรสผสมเคพกูสเบอรี่เพื่อเป็นอีกทางเลือกของผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีผลผลิตสดล้นเกินหรือมีขนาดไม่ได้มาตรฐาน จากการศึกษาพบว่าสูตรที่เหมาะสมของแยมเสาวรสผสมเคพกูสเบอรี่เพื่อสุขภาพประกอบด้วยเสาวรส เคพกูสเบอรี่ มอลติทอลไซรัป เพคตินอินนูลินและเจลาตินเท่ากับร้อยละ 37.5, 12.5, 44.4, 2.4, 2.0 และ 1.2 ตามลำดับ โดยแยมที่ได้มีปริมาณน้ำตาลทั้งหมดและปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์เท่ากับ 10.25 ± 0.01 และ 0.67 ± 0.01 กรัมต่อแยม 100 กรัม ตามลำดับ ซึ่งมีค่าต่ำกว่าแยมที่จำหน่ายในท้องตลาด แต่มีปริมาณใยอาหารและมีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าแยมชนิดอื่น โดยมีค่าเท่ากับ 3.30 ± 0.10 กรัมต่อแยม 100 กรัม และ 50.95 ± 1.76 มิลลิโมล Trolox Equivalent ต่อแยม 100 กรัมน้ำหนักแห้งตามลำดับ นอกจากนี้แยมผลไม้เพื่อสุขภาพจากผลเสาวรสผสมเคพกูสเบอรี่ให้ค่าพลังงานอาหาร 200 กิโลแคลอรี่ต่อ 100 กรัม ซึ่งมีค่าพลังงานน้อยกว่าแยมสูตรปกติที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นส่วนประกอบร้อยละ 30 ซึ่งจัดเป็นแยมลดพลังงาน มีอายุการเก็บรักษาประมาณ 2 เดือน ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมจากการทดสอบกับผู้บริโภคอยู่ในระดับชอบปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความสำเร็จของโครงการพบว่าสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยน้ำกืนสามารถนำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดไปใช้ประโยชน์ได้ 100% โดยนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพ ทำให้เกิดรายได้เสริมและทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
พนิตสุภา ธรรมประมวล และกาสัก เต๊ะขันหมาก. 2556. การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มช่างทองเหลืองและ กลยุทธ์ทางการ ตลาดสําหรับผลิตภัณฑ์ ทองเหลือง บ้านท่ากระยาง อําเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 41-50.
Abdullah, A. and T. Cheng. 2001. Optimization of reduced calorie tropical mixed fruits jam. Food Quality and Preference 12(1): 63-68.
Association of Official Analytical Chemists (AOAC). 2000. Official Methods of Analysis of the AOAC. 15th ed. AOAC International. Arlington, Virginia.
Association of Official Analytical Chemists (AOAC). 2004. Official Methods of Analysis of the AOAC. 17th ed. AOAC International. Washington, D.C.
Association of Official Analytical Chemists (AOAC). 2007. Official Methods of Analysis of the AOAC. 18th ed. 2nd revision. AOAC International, Gaithersburg.
Miller, G.L. 1959. Use of dinitrosalicylic acid reagent for determination of reducing sugars. Analytical Chemistry 31: 426-428.
Molyneux, P. 2004. The use of the stable free radical diphenylpicrylhydrazyl (DPPH) for estimating antioxidant activity. Songklanakarin Journal of Science and Technology 6(2): 211-219.
Romero, I., E. Ruiz, E. Castro and M. Moya. 2010. Acid hydrolysis of olive tree biomass. Journal of Chemical Engineering Research and Design 88: 633-640.
U.S. Food and Drug Administration (U.S. FDA.). 2011. Bacteriological Analysis Manual (BAM). (Online). Available: http://www.fda.gov/Food/ ScienceResearch/LaboratoryMethods/BacteriologicalAnalyticalManualBAM/default.htm (June 29, 2011).