การผลิตขนมจีนเส้นหมักด้วยหัวเชื้อบริสุทธิ์ของ ชุมชนบ้านแม่ยางโพธิ์ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

Main Article Content

ณัฐพร จันทร์ฉาย

บทคัดย่อ

การศึกษาการผลิตขนมจีนเส้นหมักด้วยหัวเชื้อบริสุทธิ์ ของชุมชนบ้านแม่ยางโพธิ์ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เพื่อพัฒนาการผลิตเส้นขนมจีนให้แก่กลุ่มผลิตขนมจีนเส้นหมักของชุมชนแม่ยางโพธิ์ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต และลดต้นทุนการผลิตให้แก่กลุ่มผลิตขนมจีนเส้นหมักของชุมชนแม่ยางโพธิ์ โดยทำการคัดแยกจุลินทรีย์จากแป้งหมัก 3 แหล่ง คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดแพร่ และจังหวัดพะเยา จากการศึกษาพบว่าสามารถจำแนกเชื้อจุลินทรีย์จากจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ 47 ไอโซเลท จังหวัดแพร่ได้ 81 ไอโซเลท และจังหวัดพะเยาได้ 38 ไอโซเลท นำจุลินทรีย์ที่ได้แต่ละไอโซเลทไปทำการทดสอบกลุ่มแบคทีเรียกรดแลคติก พบว่าแป้งหมักจากจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรียกรดแลคติก 3 ไอโซเลท แป้งหมักจากจังหวัดแพร่เป็นจุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรียกรดแลคติก 4 ไอโซเลท และแป้งหมักจากจังหวัดพะเยาเป็นจุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรียกรดแลคติก 1 ไอโซเลท หลังจากนั้นนำจุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรียกรดแลคติกที่ได้ในแต่ละแหล่งมาทดสอบการผลิตขนมจีนเส้นหมักในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน โดยทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี 9-point hedonic scale จากการทดลองพบว่าการใช้เชื้อจุลินทรีย์จากจังหวัดอุตรดิตถ์ : แพร่ : พะเยา ที่อัตราส่วน 1 : 2 : 1 (10:20:10 มิลลิลิตร) ให้การยอมรับจากผู้ทดสอบมากที่สุดซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการผลิตขนมจีนเส้นหมักโดยการเติมเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติกในปริมาณที่เหมาะสมส่งผลต่อคุณภาพของขนมจีน ซึ่งทำให้ทราบคุณสมบัติของเชื้อที่สร้างกรดแลคติกในการผลิตขนมจีนเส้นหมัก แบคทีเรียกรดแลคติกที่ส่งผลต่อสี กลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัสของขนมจีนเส้นหมัก อีกทั้งยังช่วยพัฒนากระบวนการผลิตขนมจีนเส้นหมัก สามารถย่นระยะเวลาการผลิตให้สั้นลง และอาจจะทำให้กลิ่นเน่าเหม็นของน้ำที่ได้จากการหมักแป้งและน้ำที่นำมาล้างเส้นขนมจีนหลังจากกระบวนการผลิตลดลงได้ อีกทั้งผู้บริโภคยังมีความพึงพอในมากที่สุดจึงทำให้ได้ขนมจีนที่มีคุณภาพ สามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้ในทุก ๆ ครั้งของการผลิตจากการใช้หัวเชื้อบริสุทธิ์อีกทั้งกลุ่มผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการผลิตได้จากการผลิตหัวเชื้อใช้เองไม่ต้องสั่งซื้อหัวเชื้อแป้งหมักอีกต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
จันทร์ฉาย ณ. 2018. การผลิตขนมจีนเส้นหมักด้วยหัวเชื้อบริสุทธิ์ของ ชุมชนบ้านแม่ยางโพธิ์ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 2 (ก.ค. 2018), 141–149.
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์วดี โล่เสถียรกิจ. 2540. การตรวจสอบเชื้อที่สามารถสร้างสารแบคเทอริโอซินได้. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

ดวงพร คันธโชติ. 2537. อนุกรมวิธานของแบคทีเรียและปฏิบัติการ. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, กรุงเทพฯ. 170 หน้า.

นวรัตน์ สุพิชญางกูร. 2547. ผลของการใช้กล้าเชื้อแบคทีเรียกรดแล็กติกต่อคุณภาพและสารระเหยของขนมจีนแป้งหมัก. สัมมนาปริญญาโท ภาควิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นพดล โพชกําเหนิด และสมบูรณ์ ประสงค์จันทร์. 2556.การผลิตไวน์จากลูกจากโดยใช้การหมักด้วยยีสต์ทางการค้า. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2):81-88.

นิตยา บุญมี. 2532. จุลินทรีย์ในการผลิตขนมจีนแป้งหมัก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

มยุรี เสาวลักษณานุกูล. 2552. การศึกษาสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียกลุ่มแลคติกจากแป้งหมักขนมจีน. รายงานสัมมนาสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ, แพร่.

รักชนก จัดวงษ์. 2545. การพัฒนาแป้งขนมจีนหมักสำเร็จรูป. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วรณัน ฉ่ำมณี และพรทิพย์ หลวงสุ. 2550. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมจีนหมักด้วยเชื้อ Lactobacillus plantarum. รายงานสัมมนาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ, แพร่.

สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง. 2548. การคัดเลือกแบคทีเรียกรดแลคติกจากข้าวหมักเพื่อใช้เป็นกล้าเชื้อขนมจีนแป้งหมัก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://kucon.lib.ku. ac.th/Fulltext/KC4406043.pdf (22 สิงหาคม 2554).

สุพรรณิการ์ ศรีบัวทอง สุดสาย ตรีวานิช วรรณี จิรภาคย์กุล และอรอนงค์ นัยวิกุล. 2550. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์และคุณสมบัติของแบคทีเรียกรดแล็กติกเพื่อใช้เป็นกล้าเชื้อขนมจีนแป้งหมัก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http:ttp//kucon.lib.ku.ac.th /Fulltext/KC4206002.pdf (22 สิงหาคม 2554).

Uchimura, T. 1998. Microorganism and its role on fermented rice noodle (Khanom Jeen) of Thailand. JSPS-NRCT Symposium Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.