การใช้หินภูเขาไฟเหลือทิ้งในผลิตภัณฑ์บล็อกปูพื้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หินภูเขาไฟเหลือทิ้ง (หินบะซอลต์) สำหรับพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บล็อกปูพื้น กำหนดอัตราส่วนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1: หินภูเขาไฟเหลือทิ้ง: น้ำประปา เท่ากับ 1:6:0.4, 1:7:0.4, 1:8:0.4, 1:9:0.4, 1:10:0.4 และ 1:11:0.4 โดยน้ำหนัก ขึ้นรูปบล็อกปูพื้น ขนาด 30 x 30 x 5 เซนติเมตร ทำการทดสอบตามมาตรฐาน มอก.378 – 2531 เรื่องกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น ผลการทดสอบ พบว่าบล็อกปูพื้นที่มีปริมาณหินภูเขาไฟเหลือทิ้งมาก มีความต้านทานแรงดัดตามขวาง และสัมประสิทธิ์การนำความร้อนต่ำกว่าบล็อกปูพื้นที่มีปริมาณหินภูเขาไฟเหลือทิ้งน้อย ส่วนการดูดซึมน้ำมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อบล็อกปูพื้นมีปริมาณหินภูเขาไฟเหลือทิ้งมาก อย่างไรก็ตามบล็อกปูพื้นอัตราส่วนที่มีหินภูเขาไฟเหลือทิ้งน้อยกว่าอัตราส่วน 1:7:0.4 มีสมบัติผ่านตามที่มาตรฐานกำหนด
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ดนุพล ตันนโยภาส. 2552. วิทยาแร่. คณะวิศวกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ดนุพล ตันนโยภาส. 2553. แร่และหิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
นันทชัย ชูศิลป์. 2556. หน่วยน้ำหนักและกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตพรุนผสมกะลาปาล์มน้ำมัน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1):97-106.
ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. 2556. การป้องกันสารพิษจากบ่อฝังกลบขยะซึมลงน้ำใต้ดินโดยใช้น้ำยางธรรมชาติ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 101-109.
ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. 2557. การใช้เศษหินภูเขาไฟสำหรับพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อก. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 19. 14-16 พฤษภาคม 2557. โรงแรมพลูแมน ขอนแก่น ราชา ออร์คิด, ขอนแก่น.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.). 2531. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องกระเบื้องคอนกรีตปูพื้น (มอก.378-2531). สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ.
สมพิศ ตันตวรนาท ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. 2555. การเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นฉนวนความร้อนและการรับกำลังของคอนกรีตบล็อกผสมน้ำยางธรรมชาติ: กรณีผสมมวลรวมขนาดต่างกัน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 17. 9-11 พฤษภาคม 2555. โรงแรมเซ็นทาราโฮเทล แอนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์, อุดรธานี.
American Society for Testing and Materials (ASTM). 2010. Standard test method for steady-state heat flux measurements and thermal transmission properties by means of guarded hot plate apparatus (ASTM C177 – 10). ASTM International, Conshohocken, PA.
El-Alfi, E.A., A.M. Radwan, and M.H. Ali. 2004. Physico-mechanical properties of basalt bricks. International Ceramic Review 53(3): 178–181.
Youssef, N.F., T.A. Osman, E. El-Shimy, and M.F. Abadir. 2004. Utilization of granite–basalt fine quarry waste in a ceramic floor tile mixture. Silicates Industrials 69(1–2): 7–13.