ลวดลายเรขศิลป์ส่วนประดับของปราสาทขอม บนผ้าไหมมัดหมี่ต่อการออกแบบเครื่องแต่งกาย

Main Article Content

สมบัติ ประจญศานต์

บทคัดย่อ

จากแนวคิดส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทำให้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นคุณค่าของลวดลายส่วนประดับของปราสาทขอมที่งดงามสามารถนำมาเป็นต้นแบบสู่การสร้างสรรค์ลวดลายเรขศิลป์ 2 มิติให้มีลักษณะร่วมสมัย เป็นสากลแต่คงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมมัดหมี่และติดตามผลการยอมรับผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค  วิธีดำเนินการวิจัยได้ออกแบบเครื่องแต่งกายเป็นเสื้อกระโปรงชุดสำหรับสตรี จำนวน 4 ชุด และเสื้อบุรุษ จำนวน 2 ตัว แล้วสอบถามตัวอย่างผู้บริโภค จำนวน 120 คน โดยมีคุณสมบัติของประชากรที่เป็นตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 51-60 ปี มีรายได้ระหว่าง 25,001-30,000 บาท ต่อเดือน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้สึกเมื่อแรกเห็นผลิตภัณฑ์รู้สึกชื่นชอบ  ลวดลายสื่อถึงลวดลายส่วนประดับปราสาทขอมได้ และส่วนใหญ่รับรู้ถึงคุณค่าของงานหัตถศิลป์ภาคภูมิใจในภูมิปัญญามรดกไทยอันเป็นการแสดงอัตลักษณ์ของตนให้ดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์

Article Details

How to Cite
[1]
ประจญศานต์ ส. 2018. ลวดลายเรขศิลป์ส่วนประดับของปราสาทขอม บนผ้าไหมมัดหมี่ต่อการออกแบบเครื่องแต่งกาย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 3 (ก.ค. 2018), 331–338.
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2546. มัดหมี่ในมุมมองใหม่. โพรเซสคัลเลอร์ ดีไซน์ แอนด์ พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ.

มาลิณี ฤาชุตกุล. 2549. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา.

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดเชียงใหม่. 2555. โครงการการศึกษาแนวทางการผลิตผ้าไหมและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหมให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.qsds.go.th/. (28 มีนาคม 2555).

สมบัติ ประจญศานต์ นันทนัช พิเชษฐวิทย์ วัชระ วชิรภัทรกุล และรุ่งรัตน์ หัตถกรรม. 2547. รายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ระดับชุมชนของผ้าทอพื้นบ้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษา: ไหมมัดหมี่ เครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

สมบัติ ประจญศานต์. 2554. รายงานการวิจัยการพัฒนาต้นแบบลวดลายเรขศิลป์ 2 มิติจากลวดลายส่วนประดับของปราสาทขอมในจังหวัดบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

สมบัติ ประจญศานต์. 2555. รายงานการวิจัยการออกแบบลายผ้าทอพื้นบ้านจากต้นแบบลวดลายเรขศิลป์ 2 มิติจากลวดลายส่วนประดับของปราสาทขอมในจังหวัดบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

สรัญญา ภักดีสุวรรณ. 2552. การออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ของจังหวัดมหาสารคามในบริบทวัฒนธรรมร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต (สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เสรี เพิ่มชาติ อัญชลี จันทาโภ วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และพฤกษ์ จิรสัตยาภรณ์. 2557. การจัดการความรู้เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าผ้าจกราชบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 183-194.