รูปแบบการทำการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

Main Article Content

บังอร ศิริสัญลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการทำการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการเกษตรสมัยใหม่ วัฒนธรรมของสังคมเกษตรในอดีต ปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลง และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการทำการเกษตรสมัยใหม่กับการเปลี่ยนแปลงวิถีวัฒนธรรมของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่     โดยสมมุติฐานในการวิจัย คือ “วัฒนธรรมในอดีตมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมในปัจจุบัน” และ“รูปแบบการเกษตรสมัยใหม่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม” การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาแบบผสม ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มด้วยวิธีสุ่มแบบหลายชั้นภูมิ สุ่มเลือกเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 403 ราย เพื่อทำการสัมภาษณ์โดยแบบสอบถาม และเลือกเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 14 ราย เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ลักษณะประชากร และข้อมูลพื้นฐานของตัวแปรทั้งหมด การทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบแบบจับคู่ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับวัฒนธรรมในอดีตและปัจจุบัน และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการทำการเกษตรสมัยใหม่กับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ผลการวิจัยเชิงปริมาณยอมรับสมมุติฐานที่เสนอไว้ กล่าวคือมีความแตกต่างระหว่างการปฏิบัติวิถีวัฒนธรรมในอดีตและปัจจุบัน และรูปแบบการเกษตรสมัยใหม่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม สำหรับข้อมูลส่วนคุณภาพพบว่าแม้รูปแบบการทำการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้วิถีชีวิตชุมชนและครอบครัวต้องปรับเปลี่ยน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะนำพาครอบครัว และชุมชนไปสู่ความล่มสลาย แต่เป็นการปรับเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง  โดยอาจมีการปรับรูปแบบและความหมาย เพื่อเป็นพื้นที่ในการตอบโต้ ต่อรอง และปรับตัวเพื่อการดำรงอยู่ของปัจเจก ชุมชน และครอบครัว

Article Details

How to Cite
[1]
ศิริสัญลักษณ์ บ. 2018. รูปแบบการทำการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 3 (ก.ค. 2018), 319–330.
บท
บทความวิจัย

References

ขัตติยา ขัติยวรา. 2557. การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ กรณีศึกษา: การทำตะเกียงน้ำมันพืชแบบโบราณของชุมชนปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 81-88.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. 2547. วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 321 หน้า.

เฉลิม พยาราษฎร์. 2542. การเปลี่ยนแปลงระบบความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีผลกระทบต่อระบบการผลิตด้านการเกษตรในชุมชนชนบท. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 109 หน้า.

เฉลิมศักดิ์ ขัตติยะ . 2541. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตด้านการเกษตรของชุมชนกะเหรี่ยง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 118 หน้า.

ไชยรัตน์ ปราณี. 2557. วัฒนธรรมชุมชนกับการเสริมสร้างในสังคมโดยใช้วัฒนธรรมเป็นฐาน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 115-123.

ณรงค์ เส็งประชา. 2541. มนุษย์กับสังคม. สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 253 หน้า.

ดำรงค์ ฐานดี. 2520. มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ. 245 หน้า.

ศิริลักษณ์ ตนะวิไชย. 2534. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจของภาคเหนือตอนบนกับการดำเนินงานการศึกษานอกระบบ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 153 หน้า.

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์. 2533. รากฐานแห่งชีวิต: วัฒนธรรมชนบทกับการพัฒนา. เจริญวิทย์การพิมพ์, กรุงเทพฯ. 135 หน้า.

อาชว์ เตาลานนท์. 2557. เกษตรก้าวหน้า เกษตรดั้งเดิม. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://modernagri. blogspot.com/2011/07/blog-post.html (20 เมษายน 2558).

อุบล เสถียรปกิรณกรณ์. 2539. สังคมวิทยา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูนครปฐม, นครปฐม. 235 หน้า.

อารีย์ นัยพินิจ ภัทรพงษ์ เกริกสกุล และ ธงพล พรมสาขา ณ สกลนคร. 2557. การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ Adjustment under globalization. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา 7(1): 1-12.

Curry R. L. Jr. and K. Sura. 2007. Human resource development (HRD): Theory and Thailand's sufficiency economy concept and its OTOP program. Journal of Third World Studies 24(2): 85-94.

Harris, M. 1979. Cultural Materialism: The Struggle for a Science of Culture. AltaMila Press, California. 389 p.

Hobsbawm, E. and T. Ranger. 2003. The Invention of the Tradition. Cambridge University Press, Cambridge. 322 p.

Kaosa-ard, M. and J. Dore. 2003. Social Challenges for the Mekong Region. White Lotus, Bangkok. 469 p.

Steward, J. H. 1955. The Theory of Cultural Change: The Methodology of Multilinear Evolution. University of linois, Chicago. 256 p.

White, L. A. 2007. The Evolution of Culture: The Development of Civilization to the Fall of Rome. Left Coast Press, California. 377 p.

Yamane, T. 1973. Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York. 1130 p.