การปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรรมบนที่สูงอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณฐิตากานต์ ปินทุกาศ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนในการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้องการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน ปี พ.ศ. 2556 ผลจากการศึกษาพบว่า เกษตรกรในพื้นที่ที่ทำการศึกษามีประสบการณ์ในการผลิตผักอินทรีย์ ใช้หลักเกษตรอินทรีย์ในการผลิต เช่น การเตรียมดิน การเตรียมเมล็ด ประเภทของผัก วิธีการปลูก การจัดการธาตุอาหาร การจัดการแมลง การจัดการศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยวเกษตรกรผู้ที่จริงจังในการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตไปเป็นระบบการผลิตผักอินทรีย์ โดยเริ่มจากการลดการใช้ปุ๋ย สารฆ่าแมลง และเริ่มการปฏิบัติแบบอินทรีย์ เช่น การใช้ระบบการควบคุมแบบชีวภาพ กล่าวโดยสรุป ปัจจุบันนี้การลดการใช้สารเคมีในการผลิตเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการทำการเกษตรของเกษตรกร แนวโน้มการปรับเปลี่ยนการผลิตไปเป็นเกษตรอินทรีย์เป็นผลกระทบจากการความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับสุขภาพที่มีผลในด้านลบ เมื่อได้รับผลกระทบจากการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีตกค้าง จากเหตุผลดังกล่าว เกษตรอินทรีย์จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดของผู้บริโภค

Article Details

How to Cite
[1]
ปินทุกาศ ณ. 2018. การปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรรมบนที่สูงอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 3 (ก.ค. 2018), 299–307.
บท
บทความวิจัย

References

Alfred P. Rovai and Hope M. Jordan. 2011. Blended learning and sense of community: a comparative analysis with traditional and fully online graduate course. (Online). Available: https://www.irrodl.org/content/v5.2/rovai-jordan.html (May 11, 2012).

Alternative Agriculture Forum. 1992. Policy Analysis and Recommendations for the Development of Alternative Agriculture. Alternative Agriculture Forum, Bangkok.

VanTine, M. and S. Verlinden. 2003. Converting to an organic farming system. (Online). Available: https://www.wvu.edu/-agexten/farmman/organic/ convert. pdf (October 18, 2013).

Nath, P., M. Papademetriou, K. Piluekand E. M. Herath. 1998. The Vegetable Sector in Thailand. FAO Regional Office for Asia and the Pacific, Bangkok.

Pichetporn, S. 2003. Knowledge and practices on new theory of agriculture of farmers in Lumphun province. Independent study in Master of Science (Agriculture), Agricultural Extension, Graduate School Chiang Mai University, Chiang Mai.

Thong-on, W. 2015. The community learning process by Ban Nong Ping Kai safe rice farmer group, Kamphang Phet province. Journal of community development and life quality 3(2): 123-131.