การจัดการมลพิษในชุมชนประกอบการแปรรูปไม้ ในตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

Main Article Content

ภูไท ศรีเสน
จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหา และผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการแปรรูปไม้ 2) ศึกษาการจัดการมลพิษของผู้ประกอบการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และ 3) ศึกษาแนวทางการจัดการมลพิษ การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแนวทางการสนทนากลุ่มย่อย จากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ จำนวน      155 ราย คนในชุมชน จำนวน 335 ครัวเรือน และบุคลากรองค์กรภาครัฐ จำนวน 30 ราย โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่มีการจัดตั้งสหกรณ์บริการผลิตภัณฑ์ไม้ดอนมูล ในปี พ.ศ.2541 ผลการศึกษาพบว่า โรงงานแปรรูปไม้ส่วนใหญ่ตั้งกระจายอยู่ภายในพื้นที่ชุมชน ประกอบกับโรงงานแปรรูปไม้ขาดระบบระเบียบแนวทางการบริหารจัดการมลพิษ กระบวนการแปรรูปไม้ทุกขั้นตอนก่อให้เกิดมลพิษ ทั้งมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง และมลพิษจากเศษวัสดุเหลือใช้ ภาวการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบกับคนในชุมชน ระดับผลกระทบภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มลพิษที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ มลพิษจากฝุ่นละออง รองลงมา คือ มลพิษจากเสียง มลพิษจากกลิ่น มลพิษจากเศษวัสดุเหลือใช้ และมลพิษจากเขม่าควันตามลำดับ ส่วนการจัดการมลพิษของผู้ประกอบการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ภาพรวมผู้ประกอบการเลือกกระทำในสิ่งที่สามารถปฏิบัติและดำเนินการได้โดยไม่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แนวทางการจัดการมลพิษ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการ คนในชุมชน และบุคลากรองค์กรภาครัฐ การจัดการมลพิษต้องมีการดำเนินการที่เหมาะสมกับสาเหตุ เพราะการเกิดมลพิษแต่ละประเภทมีความเฉพาะ และลักษณะวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน โดยวิธีการที่ดีที่สุด คือ การควบคุมป้องกันที่สาเหตุหรือแหล่งกำเนิด แต่ถ้าไม่สามารถควบคุมที่สาเหตุได้ ต้องมีการควบคุมที่ตัวกลาง และวิธีสุดท้าย คือ การควบคุมที่ตัวผู้รับมลพิษด้วยอุปกรณ์ป้องกัน ซึ่งการจัดการมลพิษจะใช้วิธีการต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีเสน ภ. และ ตั้งกิตติภาภรณ์ จ. 2018. การจัดการมลพิษในชุมชนประกอบการแปรรูปไม้ ในตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 3 (ก.ค. 2018), 285–297.
บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2535. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, กรุงเทพฯ.

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดแพร่. 2558. บรรยายสรุปจังหวัดแพร่ ปี 2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. phrae.go.th/ file_data/sum_phrae.pdf (17 มิถุนายน 2558).

จำรูญ ยาสมุทร. 2527. การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม. ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพฯ.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง . 2537. การบริหารการพัฒนาชนบท. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล. 2551. สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นิรันดร์ วิทิตอนันต์. 2539. การตรวจสอบและควบคุมมลพิษ. ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ประสาน ตังสิกบุตร. 2538. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ปราณี พันธุมสินชัย. 2542. มลพิษอุตสาหกรรมเบื้องต้น. สมาคมสิ่งแวดล้อมแห่ง ประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

วนิดา จีนศาสตร์. 2551. มลพิษอากาศและการจัดการคุณภาพอากาศ. แอคทีฟ พริ้นท์, กรุงเทพฯ.

ศิวพันธุ์ ชูอินทร์. 2556. ความรู้เบื้องต้นด้านมลพิษทางเสียง. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์. 2556. ปัจจัยสู่ความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับ การคัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 31-41.

อุษณีษ์ ปัญจมาตย์. 2549. การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตงานหัตถกรรมไม้ของผู้ประกอบการในตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Yamane, T. 1970. Statistic – an introductory analysis. John Weather hill, Inc, Tokyo.