สมาร์ท-วิลเลจ: ตัวแบบการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
สมาร์ท-วิลเลจ (SMART Village) เป็นการถ่ายทอดตัวแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่สู่ความยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบการพัฒนาคนและผลผลิตเกษตร โดยนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปพืชผลการเกษตรที่สะอาดปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่การสร้างรายได้ครัวเรือนและส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนในระยะยาว ภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการศึกษา พบว่ากระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยผ่านกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและชุดความรู้ที่เกิดจากงานวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้แบบบูรณาการระหว่างกลุ่มอาชีพและเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายอำเภอสะเมิง ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและสตรอว์เบอร์รี่ กลุ่มแปรรูปหญ้าหวาน และสมุนไพร เกษตรกรได้เพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจระบบและกลไกการผลิตอย่างครบวงจร สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและพัฒนาตนเองสู่การเป็นวิทยากรท้องถิ่น พร้อมที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปต่อยอด ขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ของชุมชนอื่นได้อย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ปลูกจนถึงการแปรรูปสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย กลุ่มเกษตรกรสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าคุณภาพเพื่อการจำหน่าย สามารถออกแบบตราสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มให้เข้าสู่ตลาดสากล นอกจากนี้ยังรวมกลุ่มจัดตั้งร้านค้าสีเขียว (green shop) ให้เกิดขึ้นในอำเภอสะเมิง โดยมีลักษณะการพัฒนาที่เป็นไปตามเกณฑ์ 5 ประการ ได้แก่ 1) ความยั่งยืน (sustainability) 2) การจัดการแบบรวมกลุ่ม (management by grouping) 3) การเพิ่มมูลค่า (added value) ของสินค้าและบริการ 4) การใช้ทรัพยากร (resources) ทั้งดินน้ำป่าของชุมชนอย่างรู้คุณค่า 5) การใช้เทคโนโลยีสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (clean and green technology) ขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และเชื่อมโยงกับแผนงานบริหารของท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ชมชวน บุญระหงส์ และอิสราพร อุนจะนำ. 2552. การปรับตัวของเกษตรกรรายย่อยจากการปรับเปลี่ยนสภาพอากาศ. รายงานการวิจัย. สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน, เชียงใหม่. 99 หน้า.
ชไมพร สืบสุโท รัตนา สีดี และฐิฏิกานต์ สุริยะสาร. 2554. กลยุทธ์การพัฒนากลุ่มอาชีพเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน กรณีศึกษากลุ่มอาชีพทอผ้าลายสายฝน ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย มสธ. วิจัย ประจำปี 2554. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ลำปาง.
ดวงดี แสนรักษ์ สุรพล ดำรงกิตติกุล รุ่งทิพย์ กล้าหาญ และนฤเบศร์ หนูใสเพ็ชร. 2554. การพัฒนาระบบยุ้งข้าวเปลือกที่ควบคุมความชื้นข้าวด้วยระบบปั๊มความร้อน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ผ่านเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน, เชียงใหม่.
สิทธิชัย วงศ์หน่อ และสุรพล ดำรงกิตติกุล. 2553. การปรับปรุงเตาอบแห้งเก๊กฮวยและหญ้าหวานของชุมชนบ้านอมลอง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน, เชียงใหม่.
สบพันธ์ ชิตานนท์. 2549. เศรษฐกิจเพียงพอ “หนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://services.dpt.go.th/dpt_kmcenter/index. php?option=com_content&task=view&id= 12&Itemid=1 (24 กันยายน 2557).
เสรี เพิ่มชาติ อัญชลี จันทาโก วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และพฤกษ์ จิรสัตยาภรณ์. 2556. การจัดการความรู้เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าผ้าจกราชบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 183-194.