ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของเกษตรกรในการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือในบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และความคิดเห็นของเกษตรกรที่ผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของเกษตรกรในการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรที่ผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือในบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จำนวน 100 ราย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลการวิจัยคือแบบสอบถามโดยเป็นคำถามปลายปิดและคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า มีตัวแปรอิสระ 2 ตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของเกษตรกรในการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา และเงินทุนต่อเดือน
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
จรีย์ภัสร์ จุฑาธนัญญ์ และริญญาภัทร์ ปยุตวรเศรษฐ์. 2560. รูปแบบความสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปไทยที่ไม่ใช่อาหารสำหรับกลุ่ม OTOP เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์ 11 ครบรอบ 23 ปี (2): 53-66.
จิดาภา สงครามภู และสาธิต อดิตโต. 2558. ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร 43(3): 525-534.
ชัญญา แว่นทิพย์ และคะนอง พิลุน. 2559. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ของอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการเมืองการปกครอง 6(1): 66-81.
ทักษญา สง่าโยธิน. 2560. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ 12 (2): 11-25.
นวรัตน์ บุญภิละ. 2559. วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอาหารของชาวผู้ไทในจังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2): 224-234.
มินระดา โคตรศรีวงค์ และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. 2559. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. Veridian E-Journal, Silpakorn University 9(3): 1632-1645.
รจนา ชื่นศิริกุลชัย. 2557. การสร้างนักออกแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีความเป็นอัตลักษณ์ล้านนาต่อการพัฒนาแฟชั่นในระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 141-151.
วัลลภ ทองอ่อน. 2557. พัฒนาการการผลิตและหน้าที่ทางสังคมของผ้าไหมสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 153-159.
ศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์. 2556. ปัจจัยสู่ความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 31-41.
Cronbach, L. J. 1951. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 16(3): 297-334.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York. 1130 p.