แนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือนและชุมชน กรณีศึกษา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

รสสคุนธ์ ชัยแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชนในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และเสนอแนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชนของพื้นที่ดังกล่าว ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง รวม 26 ราย และทำการศึกษาจากข้อมูลทุตยภูมิร่วมด้วย นำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลและวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีการประเมินแบบ CIPP – I model ได้พิจารณาผลการดำเนินการทั้ง 5 องค์ประกอบและ 16 ตัวบ่งชี้ ผลการศึกษาพบว่าความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชนในบางพื้นที่ศึกษายังไม่มีความต่อเนื่องของการผลิตและการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพ มีบางครัวเรือนหันกลับมาใช้ก๊าซหุงต้ม ทำให้ระบบผลิตก๊าซถูกทิ้งร้าง ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ ประชาชนมีส่วนร่วมเพียงบางส่วน และขาดงบประมาณในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานในระดับท้องถิ่น ผู้บริหารองค์กร และผู้นำชุมชนบางส่วนในพื้นที่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนอย่างแท้จริง ประชาชนในพื้นที่ศึกษามีความนิยมในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือนมากกว่าระดับชุมชน การใช้ประโยชน์ในการผลิตก๊าซชีวภาพยังไม่ทั่วถึง และไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้นอกจากหุงต้มในครัวเรือน การศึกษานี้ได้เสนอแนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือนและชุมชนในพื้นที่ศึกษาไว้หลายประการ

Article Details

How to Cite
[1]
ชัยแก้ว ร. 2018. แนวทางการสร้างความยั่งยืนในการผลิตก๊าซชีวภาพระดับครัวเรือนและชุมชน กรณีศึกษา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 1 (มิ.ย. 2018), 146–161.
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2554. แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ.2555-2564). (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: http://www.enconfund.go.th/pdf/index/aedp25.pdf (20 พฤศจิกายน 2557).

จำลอง โพธิ์บุญ. 2547. การบริหารโครงการสิ่งแวดล้อม ทิพเนตร์การพิมพ์, กรุงเทพฯ. 218 หน้า.

เจษฎา มิ่งฉาย. 2556. การวิจัยและพัฒนารูปแบบพลังงานทางเลือกจากมูลโคสำหรับเกษตรกรรายย่อยบ้านห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (สกว.) 5(4): 62-77.

วันวิสา โคกครุฑ. 2554. การจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ. 211 หน้า.

วิสาขา ภู่จินดา. 2555. การบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน เพื่อผลิตพลังงานใช้ในระดับชุมชนและระดับครัวเรือน. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ. 299 หน้า.

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และบุญล้อม ชีวิอิสระกุล. 2553. การผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อลดมลภาวะและเป็นพลังงานสำหรับเกษตรกรรายย่อย. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.กรุงเทพฯ. 171 หน้า.

อุบลรัตน์ หยาใส, จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. 2557. แนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 233-243 (2557).

Mwirigi, Jecinta et al. 2013. Socio-economic Hurdles to Widespread Adoption of Small-scale Biogas Digesters in Sub-Saharan Africa: a Review. Biomass and Bioenergy 70 (2014): 17-25.