ระบบการเลี้ยงและศักยภาพในการผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

วัชระ แลน้อย
วีรพงษ์ กันแก้ว
กฤตภาค บูรณวิทย์
บรรจง อาจคำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือศึกษาระบบการเลี้ยง ศักยภาพในการผลิต และการจำหน่ายไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา รวมทั้งความต้องการในการบริโภคเนื้อไก่พื้นเมือง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง ผู้จำหน่าย และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่ 9 อำเภอ ของจังหวัดพะเยา รวม 155 ราย รวบรวมข้อมูลสถิติการเลี้ยงไก่ ในปี พ.ศ. 2557 และใช้แบบสอบถามจำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับระบบการเลี้ยง ระบบการจำหน่าย และความต้องการของผู้บริโภคไก่พื้นเมือง ใช้สถิติพรรณนาในการอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า จำนวนไก่พื้นเมืองในจังหวัดพะเยามีประมาณ 1.37 ล้านตัว  ค่าเฉลี่ยจำนวนไก่พื้นเมืองต่อครัวเรือนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ทั้งจังหวัดเท่ากับ 31.28 ตัว ซึ่งเกษตรกรที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองในจังหวัดพะเยาที่สำรวจได้ มีการรวมกลุ่มจัดได้เป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ทั่วไป 21 กลุ่ม และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 7 กลุ่ม ผลการสำรวจพบว่าประเด็นที่เกษตรกรให้ความสนใจเพื่อต้องการการพัฒนาเป็นลำดับแรก คือ การจัดการด้านอาหาร (82.60%) และการจัดการด้านการตลาดไก่พื้นเมือง (7.25%) เป็นลำดับที่สอง พบว่าร้อยละ 90.00 ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีการเลี้ยงไก่แบบกึ่งขังกึ่งปล่อย ร้อยละ 42.50 ใช้ธัญพืชได้แก่ ข้าวโพดและข้าวเปลือกเป็นอาหารไก่พื้นเมืองโดยตรงโดยไม่ได้ทำการผสมอาหาร ร้อยละ 48.49 จำหน่ายไก่แบบขายส่งโดยมีพ่อค้ามารับซื้อ และร้อยละ 39.39 จำหน่ายไก่มีชีวิตเองภายในหมู่บ้าน  ผู้บริโภคร้อยละ 67.25 เลือกซื้อไก่พื้นเมืองเป็นตัว และร้อยละ 49.25 ซื้อเพื่อรับประทานเองในครัวเรือน สิ่งที่ต้องศึกษาต่อไปคือห่วงโซ่อุปทานไก่พื้นเมืองในจังหวัดพะเยาซึ่งมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์ในระดับชุมชนให้เป็นอาชีพหลักของเกษตรกรต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
แลน้อย ว., กันแก้ว ว., บูรณวิทย์ ก. และ อาจคำ บ. 2018. ระบบการเลี้ยงและศักยภาพในการผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 1 (มิ.ย. 2018), 137–145.
บท
บทความวิจัย

References

กำจร ตติยกวี. 2558. งานวิจัยกับการพัฒนาประเทศ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 1-4.

กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม ศุภชัย ปทุมนากุล และศิริลักษณ์ ศุทธชัย. 2554. แนวทางการพัฒนาโซ่อุปทานไก่พื้นเมืองประดู่หางดำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 102 หน้า.

ขนิษฐา เรืองวิทยานุสรณ์ ทรงศักดิ์ จำปาวดี ดวงนภา บัวใหญ่ นพพงษ์ ศรีอาจ และทัศน์วรรณ สมจันทร์. 2554. การยอมรับไก่ลูกผสมพื้นเมืองในเขตมหาสารคาม. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 68 หน้า.

เฉลียว บุญมั่น และศรัณย์ วีสเพ็ญ. 2551. การศึกษาความเป็นไปได้ของการผลิตไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์ในระดับชุมชน: กรณีศึกษาไก่ย่างบ้านแคน, ไก่ย่างไม้มะดัน และการค้าขายไก่พื้นเมืองในตลาดบางแห่งของจังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 54 หน้า.

บัณฑิต กีรติการกุล ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ และศิริพร กิรติการกุล. 2557. การสร้างมูลค่าเพิ่มไก่ประดู่หางดำจากระบบการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระตามธรรมชาติเพื่อตอบสนองผู้บริโภคในตลาดระดับบน. วารสารสัตวศาสตร์แห่งประเทศไทย (1) ฉบับพิเศษ 187-190.

มนต์ชัย ดวงจินดา บัญญัติ เหล่าไพบูลย์ สจี กัณหาเรียง เทวินทร์ วงษ์พระลับ และวุฒิไกร บุญคุ้ม. 2553. ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง). รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 57 หน้า.

วาที คงบรรทัด วศิน เจริญตัณธนกุล ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน และภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร. การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ของชุมชนบ้านห้วยแก้ว ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 38 หน้า.

วิเชียร เกิดสุข และวชิราพร เกิดสุข. 2552. การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ไก่พื้นเมืองหรือลูกผสมพื้นเมืองเชิงพาณิชย์ในระดับชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 72 หน้า.

ศศิพันธ์ วงศ์สุทธาวาส และกรรณิการ์ สมบุญ. 2552. การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ไก่พื้นเมืองหรือลูกผสมพื้นเมืองเชิงพาณิชย์ในระดับชุมชนในจังหวัดสกลนคร. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 67 หน้า.

อำนวย เลี้ยวธารากุล ชาตรี ประทุม และศิริพันธ์ โมราถบ. 2551. แนวทางสร้างการรับรู้ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ในกลุ่มผู้บริโภค. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 83 หน้า.

อำนวย เลี้ยวธารากุล ศิริพันธ์ โมราถบ และปราณี รอดเทียน. 2554. ระบบการผลิตและการรับรองพันธุ์ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ของฟาร์มเครือข่าย. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 54 หน้า.

Choprakarn, K., Wongpichet K. 2007. Village chicken production systems in Thailand. Poultry in the 21st Century (Online). Available: www.fao.org (May 15, 2014).

Jaturasitha, S., T. Srikanchai, M. Kreuzer, M. Wicke. 2008. Differences in carcass and meat characteristics between chicken indigenous to Northern Thailand (Black-boned and Thai Native) and imported extensive breeds (Bresse and Rhode Island Red). Poultry Science 87: 160-169.

Phayao Provincial Livestock Office. 2014. (Online). Available: http://www.pvlo-pyu.dld.go.th/ (May 15, 2014).