การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการวิจัย สื่อสารชุมชน และการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศในจังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์คือ 1. ดำเนินการรวบรวม คัดสรร วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากผลงานวิจัยในกลุ่มเรื่องมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง 2. กำหนดเขตการปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสมของจังหวัดกำแพงเพชรด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3. ถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่การปฏิบัติของเกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและ 4. ประเมินผลสื่อสารชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1) มีผลงานวิจัยในกลุ่มเรื่องมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังที่เป็นผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพจำนวน 16 ชิ้นงานสามารถสร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในทุกขั้นตอนของการผลิตมันสำปะหลังใน 7 ด้าน คือ ด้านพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ ด้านวิธีการปลูกและการวางแผนการปลูก ด้านการปรับปรุงบำรุงดินและการเตรียมดิน ด้านการให้น้ำ ด้านการกำจัดวัชพืช ด้านการใช้ปุ๋ย และการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม 2) เขตเหมาะสมสำหรับปลูกมันสำปะหลังของจังหวัดกำแพงเพชรสามารถกำหนดได้ 3 เขตตามปัจจัยหลักด้านดิน น้ำและปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง คือเขตเหมาะสมในการปลูกมันสำปะหลังมาก ปานกลางและน้อย 3) สื่อสารชุมชนที่นำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยสู่การปฏิบัติของเกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังประกอบด้วยสื่อ 8 ประเภท และ 4) การประเมินผลสื่อสารชุมชนพบว่าสื่อสารชุมชน 7 ประเภทเกษตรกรมันสำปะหลังมีความพอใจในระดับดี ส่วนสื่อบุคคลเกษตรกรมีความพอใจในระดับดีมาก
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
กาญจนา แก้วเทพ กำจร หลุยยะพงศ์ รุจิรา สุภาษา และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. 2543. สื่อเพื่อชุมชน การประมวลองค์ความรู้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.
กำจร ตติยกวี. 2558. งานวิจัยกับการพัฒนาประเทศ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 1-4.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. 2542. การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
นวลศรี โชตินันทน์. 2551. ปลูกมันสำปะหลังอย่างไร จึงจะได้ผลผลิตสูงสุด. จดหมายข่าวผลิใบ 11(2): 9-10.
มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย. 2546. การปลูกมันสำปะหลังที่ดี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.thaitapiocastarch.org/ article10_th.asp (10 เมษายน 2558).
วรเดช จันทรศร และสมบัติ อยู่เมือง. 2545. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารภาครัฐ. สมาคมนักวิจัย, กรุงเทพฯ.
วัลลภ ทองอ่อน. 2554. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่สำหรับการเกษตรแบบไร่ขนาดใหญ่จังหวัดกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.
วัลลภ ทองอ่อน. 2558. กระบวนการเรียนรู้ในการผลิตข้าวปลอดภัยชุมชนบ้านหนองปิ้งไก่ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(2): 123-131.
วาสนา พุฒกลาง และชรัตน์ มงคลสวัสดิ์. 2553. ความเหมาะสมของที่ดินและการประเมินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
วินัย ศรวัต อรรถชัย จินตะเวช ก้อนทอง พวงประโคนและสุกิจ รัตนศรีวงษ์. 2547. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการผลิตมันสำปะหลัง: มันไทย. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, ขอนแก่น. 197 หน้า.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. 2554. ยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมมันสำปะหลังประเทศไทย (พ.ศ. 2555-2559). สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปทุมธานี.
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกำแพงเพชร. 2557. นโยบายมันสำปะหลัง. เอกสารประกอบการประชุม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร. 8 หน้า.
สุนีย์ หนูสูง. 2549. การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของประชาชนโดยผ่านรายการวิทยุชมชน สถานีวิทยุชมชน อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, ราชบุรี.
อมรลักษณ์ ปรีชาหาญ. 2558. การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยวิธีการเขตกรรมเชิงพื้นที่ในเขตจังหวัดพิษณุโลก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.nstda. or.th/pub/2014/20140228-8-phitsanulok-productivity.pdf (1 เมษายน 2558)