บทบาทของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรต่อการส่งเสริมการเกษตร ในอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคมและปัจจัยเสริมของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร 2) บทบาทของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อบทบาทของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 188 ราย โดยการใช้แบบสอบถาม แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ โดยสถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบเชิงชั้น ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุเฉลี่ย 15 ปี กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย สายการศึกษาวิทยาศาสตร์ มีรายได้ของครอบครัวเฉลี่ย 90,606.58 บาทต่อปี อาชีพหลักของหัวหน้าครอบครัวทำเกษตรกรรม ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกกลุ่ม เฉลี่ย 2 ปี มีการติดต่อสื่อสารภายในกลุ่มโดยครูที่ปรึกษาและเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ได้รับคำแนะนำและการฝึกอบรม เฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี และได้รับข้อมูลข่าวสารการเกษตรจากเอกสารเผยแพร่ มากที่สุดเฉลี่ย 20 ครั้งต่อปี บทบาทของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร พบว่าบทบาทจริงของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร อยู่ในระดับปานกลาง ในทุกๆด้าน ดังนี้ (1) การผลิตและการตลาดมีค่าเฉลี่ย 3.37 (2) การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติมีค่าเฉลี่ย 3.38 (3) ด้านการพัฒนาชุมชนมีค่าเฉลี่ย 3.26 และ (4) ด้านการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีค่าเฉลี่ย 3.21 และบทบาทรวมในทุกด้านมีค่าเฉลี่ย 3.30 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างบทบาทที่คาดหวังและบทบาทจริงในการดำ เนินงานของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร พบว่าบทบาทที่คาดหวังมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าบทบาทจริงในทุกๆ ด้านอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 วิเคราะห์การถดถอยพหุ ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ คือ อายุ ระดับการศึกษา การสนับสนุนจากผู้ปกครอง และการรับข้อมูลข่าวสารการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2541. คู่มือการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกร.กลุ่มงานเยาวชนเกษตรกองพัฒนาการบริหารงานเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 56 หน้า.
บุญสม วราเอกศิริ. 2539. ส่งเสริมการเกษตร หลักและวิธีการ.ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร คณะธุรกิจการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่.
วิเชียร พันธ์เครือบุตร. 2557. สมรรถนะการประกอบวิชาชีพและความสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 225-232.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. Harper and Row Publication, New York. 915 p.