ความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติตนของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติ ทางการเกษตรในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วรทัศน์ อินทรัคคัมพร
เรืองไร อินทรากอง

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตร ในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และ ศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะของเกษตรกรเมื่อได้รับภัยพิบัติทางการเกษตรในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ  เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร และเป็นผู้เคยประสบภัยพิบัติทางการเกษตร โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Yamane จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุ และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติเกี่ยวกับภัยพิบัติด้านการเกษตรในระดับปานกลาง พบว่ามีปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตรในตำบลข่วงเปา ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา  ระยะเวลาประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม สถานภาพในสังคม ขนาดของพื้นที่ถือครองทางการเกษตร  รอบ/ฤดูกาลผลิตในแต่ละปี และภัยพิบัติที่เกษตรกรได้รับผลกระทบ โดยปัจจัยทั้ง 7  มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ ความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตร และพบว่ามีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตรในตำบลข่วงเปา ได้แก่ ระยะเวลาประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม การแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดยปัจจัยทั้ง 3 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตร การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกับตัวแปรตาม คือความรู้ความเข้าใจกับการปฏิบัติของเกษตรกร พบว่าความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตรมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตร อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ  สรุปได้ว่า ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตรในตำบลข่วงเปาอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ

Article Details

How to Cite
[1]
อินทรัคคัมพร ว. และ อินทรากอง เ. 2018. ความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติตนของเกษตรกรเกี่ยวกับภัยพิบัติ ทางการเกษตรในตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 1 (มิ.ย. 2018), 98–108.
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. ทะเบียนเกษตรกร2554/2555 - 2555/2556. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://farmer.doae.go.th/. (15 ธันวาคม 2554).

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2551. ภัยธรรมชาติในประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.tmd.go.th/info/risk.pdf (16 ธันวาคม 2554).

คลังข้อมูลสภาพน้ำ. 2555. บันทึกเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี 2554. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา.http://www.thaiwaternet/current/flood54.html.

ชายันต์ คำมา. 2544. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 127 หน้า.

ต่อพงษ์ จันทร์พวง. 2543. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการข้าวโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 95 หน้า.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืน ด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2) : 1-5.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. 2549. เชียงใหม่ก้าวสู่ปี 2549. วารสารเชียงใหม่ปริทัศน์ 7(70): 26-32.

นพวรรณ จตุรนต์รัศมี. 2546. ระดับความรู้และปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ความตระหนักและการปฏิบัติของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ต่อการป้องกันควบคุมและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์บัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, กรุงเทพฯ: 105 หน้า.

นิติศาสตร์ รวดเร็ว. 2554. จังหวัดที่เกิดน้ำท่วมปี 2554 ทั้งหมด. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/nitisartruadrew/canghwad-thi-keid-na-thwm-pi-2554-thang-h (16 ธันวาคม 2554).

พจนารถ บุญญภัทรพงษ์. 2542. ความรู้ ทัศนคติ ต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานของลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตลวดในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 109 หน้า.

พวงเพชร์ ธนสิน และอัษฏางค์ โปราณานนท์. 2535. ภัยธรรมชาติในภาคเหนือของไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์บัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 112 หน้า
ภารณี กฤษฎาเรืองศรี.2555. ความคิดเห็นต่อการขึ้นทะเบียนเกษตรกรของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ. 115 หน้า.

มนัสพร เดชวงค์. 2541. การประเมินผลความรู้และการปฏิบัติการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัยของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในจังหวัดลำปาง. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 71 หน้า.

เยาวภา บุญญานุภาพ. 2540. ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผักพื้นบ้านของผู้บริโภคในตลาดสดเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 90 หน้า.

วรรณภัสสรณ์ มณีเป็ญ. 2555. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของผู้เลี้ยงผึ้งในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 99 หน้า.

วิชิต อุทัยวรรณ. 2535. ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และการปฏิบัติด้านโคนมของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 122 หน้า.

ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร. 2554. รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2554. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล : http://www. moac.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7701&filename=index (16 ธันวาคม 2554).

สิริรัตน์ พิชิตพร.2546.ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรจังหวัดลำพูน. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 90 หน้า.