การพัฒนาการจัดการการเงินของกลุ่มผักอินทรีย์ ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

Main Article Content

พรรณนุช ชัยปินชนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบการจัดการการเงินของกลุ่มผักอินทรีย์ตำบลหนองป่าครั่ง  อำเภอเมืองเชียงใหม่  โดยการศึกษาประชากรคณะกรรมการกลุ่มผักอินทรีย์ตำบลหนองป่าครั่ง  จำนวน 13 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก  การสนทนากลุ่มย่อย  อีกทั้งการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนด้วยการดูงานชุมชนต้นแบบ  และการลงมือดำเนินการตามหลักวงจร P-D-C-A ได้แก่ การวางแผน  การปฏิบัติ การประเมินผล  และการปรับปรุงแก้ไข  ระยะเวลาในการศึกษาวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558  ระยะเวลา 12 เดือน  ผลการวิจัยพบว่า  การดำเนินงานที่ผ่านมากลุ่มฯ ไม่มีระบบการจัดการการเงิน   การบันทึกข้อมูลทางบัญชีการเงินใช้เพียงการบันทึกช่วยจำ  ผู้วิจัยได้ร่วมกับกลุ่มตัวอย่างดำเนินการสร้างระบบการจัดการการเงินของกลุ่มฯ ตามหลักวงจร P-D-C-A  โดยสามารถพัฒนาระบบบัญชีการเงินที่เหมาะสมกับบริบทกลุ่ม  รวมทั้งออกแบบระบบการเงินและเอกสารทางการเงินที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ระบบ ได้แก่ ระบบการขายสินค้าเงินสด  ระบบการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ  และระบบการรับค่าสินค้าเป็นเงินเชื่อ  กลุ่มตัวอย่างได้รับการอบรมโดยวิธีการปฏิบัติงานจริง รวมทั้งได้ทดลองจดบันทึกข้อมูลต้นทุนผันแปรในแบบฟอร์มลงรายการต้นทุนผันแปรที่ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น และสามารถแยกรายได้ ค่าใช้จ่าย กำไรหรือขาดทุนได้อย่างชัดเจน รู้จักวิธีคำนวณหาต้นทุนผลิตภัณฑ์เพื่อวางแผนการดำเนินงานในอนาคตได้

Article Details

How to Cite
[1]
ชัยปินชนะ พ. 2018. การพัฒนาการจัดการการเงินของกลุ่มผักอินทรีย์ ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 1 (มิ.ย. 2018), 84–97.
บท
บทความวิจัย

References

กนกรัตน์ ปัญญา. 2555. นโยบายอาหารปลอดภัยจังหวัดเชียงใหม่ กำหนดขยายเครือข่ายการตลาดพืชอาหารปลอดภัยจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2554-2557. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://region3.prd .go.th/ct/news/viewnews.php?ID=120113164220 (25 สิงหาคม 2556).

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. 2545. การเงินธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, กรุงเทพฯ. 456 หน้า.

ชัยมงคล เตียวกุล. 2545. ระบบบัญชีการเงินที่เหมาะสมของกลุ่มผลิตตำบล: กรณีศึกษาป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, (ระบบออนไลน์). เชียงใหม่. 163 หน้า.

ดลกร ไชยวงศ์. 2551. ระบบบัญชีการเงินที่เหมาะสมของโครงการเพิ่มพูนศักยภาพการบริหาร และจัดการฟาร์มสุกร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://tdc.thailis.or.th (15 พฤศจิกายน 2556).

บุษบา อารีย์ ประเวทน์ แสนยอง และอุดม อมยิ้ม. 2557. การพัฒนาศักยภาพโดยใช้เทคนิคบัญชีบริหารเพื่อเพิ่มรายได้ของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ บ้านโป่งอาง ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 49-61.

พรรณนุช ชัยปินชนะ. 2554. การพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2 (1): 37-48.