การเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการทรัพยากรน้ำสู่ความยั่งยืนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

Main Article Content

อัจฉรา พิเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค ของชุมชนบ้านแก้ง อ.นาแก            จ.นครพนม และหารูปแบบในการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และวิถีชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านแก้ง วิธีการศึกษา ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสำรวจแหล่งน้ำ การวัดปริมาณน้ำฝน การจัดทำแบบสอบถาม การศึกษาดูงาน ผลจากการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านแก้งมีความรู้ความเข้าใจลักษณะภูมิประเทศของตนเองมากขึ้น มีศักยภาพเพียงพอที่จะบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเพิ่มทางเลือกการใช้น้ำบนดินให้มากขึ้น และเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินด้วยการทำฝายชะลอน้ำ เกิดนวัตกรรมการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำอย่างง่ายในระดับครัวเรือน การสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง สร้างระบบน้ำประปาที่ได้มาตรฐานในพื้นที่ เพื่อบรรเทาการใช้น้ำอุปโภค บริโภค ให้กับชุมชน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ามาส่งเสริมกลุ่มชาวบ้านแก้งปลูกผักอินทรีย์ใช้น้ำน้อยโดยเทคโนโลยีโรงเรือนคัดกรองแสง

Article Details

How to Cite
[1]
พิเลิศ อ. 2018. การเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการทรัพยากรน้ำสู่ความยั่งยืนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 3 (ส.ค. 2018), 453–474.
บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรน้ำ. 2550. ๖๐ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา. สำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ.กรุงเทพฯ. 324 หน้า.

จิราภรณ์ หลาบคำ นิตยา จิตบันเทิง สมเจตน์ ทองคำ อำพร ภาคำศรี และ สายันต์ จันทรดี. 2558. รูปแบบการจัดการน้ำบาดาลให้ถูกหลักสุขาภิบาลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเก่าน้อย ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 7(2): 22 – 35.

เชาวลิต สิมสวย. 2556. พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการน้ำ เพื่อการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ขาน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกร็ก 31(3): 85-114.

ทนา ไชยศรี. 2557. แผนพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมโครงการนิคมการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม (พ.ศ 2558 – 2560). เอกสารรายงาน สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครพนม. 32 หน้า.

นพวรรณ บุญธรรม สุรพล ดำรงกิตติกุล และ ไกรสีห์ พิสิษฐ์กุล. 2558. การพัฒนาระบบและกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคของชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4(1): 60 –74.

พอจิตต์ ขันทอง สมชาย บุญยะหุตานนท์ สมชาย ยิ่งผล และ ไพรัช แก้วจินดา. 2551. คู่มือประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำประจำบ้าน. สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ, กรุงเทพฯ. 18 หน้า.

พูนฉวี สมบัติศิริ. 2552. การพัฒนาคุณภาพการผลิตน้ำประปามาตรฐานกรณีหมู่บ้านปงชัย ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 1(6): 64 – 70.

วีณา วาระกุล และ ดวงใจ พุทธวงศ์. 2558. การประเมินโครงการสร้างฝายชะลอน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 4(2): 91 – 101.

ศุภกร ชินวรรโณ วิจิตรบุษบา มารมย์ ณัชวิชญ์ ติกุล วนารัตน์ กรอิสรานุกูล พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ โพยม สราภิรมย์ พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์และ กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงศ์. 2550. โครงการ การจัดทำรายงานสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยครั้งที่ 2 (ด้านความเสี่ยงและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ). เอกสารวิชาการ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 331หน้า.

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร องค์การมหาชน. 2554. รายงานสรุปข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เอกสารรายงาน.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 104 หน้า.

หวานใจ หลำพรม. 2555. รูปแบบและบทบาทของเครือข่ายภาคประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ กรณีศึกษา เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำป่าสัก. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 4(3): 49 – 56.

อลิษา สหวัชรินทร์. 2560. แผนวิสัยทัศน์ภูมิทัศน์พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านบางยี่ขันฝั่งเหนือ. การพัฒนาพื้นที่ริมน้ำอย่างยั่งยืนในบริบทของไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5(1): 1-13.