การพัฒนามาตรการการจำกัดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าโดยรอยสถานศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย

บทคัดย่อ

การวิจัยสำรวจภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรการการจำกัดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนของร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างสุ่มอย่างเป็นระบบกับผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 148 คน เยาวชน 400 คน และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 40 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบผู้จำหน่ายขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนร้อยละ 69.6 ติดป้ายโฆษณา ร้อยละ 70.2 ไม่ถามอายุ ร้อยละ 46.6 และไม่ตรวจบัตรประชาชน ร้อยละ 51.4 พบเยาวชนเคยซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 69.8 โดยซื้อจากร้านขายเครื่องดื่มร้อยละ 55.6 ร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 50.5 ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลาตั้งแต่ 24.00-11.00 น. และ 14.00-17.00 น. เคยซื้อและซื้อได้ ร้อยละ 38.3 ซึ่งเป็นเวลาที่ห้ามจำหน่าย ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการได้มาตรการจำกัดและการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนรอบบริเวณสถานศึกษาโดยการจัดระเบียบพื้นที่ตั้งร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการจัดโซนนิ่งและมาตรการป้องกันด้วยการลบล้างค่านิยมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาและครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

Article Details

How to Cite
[1]
อ้นมอย พ. 2018. การพัฒนามาตรการการจำกัดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าโดยรอยสถานศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 3 (ส.ค. 2018), 525–550.
บท
บทความวิจัย

References

กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว จิระพงค์ เรืองกุล และสายใจ ชุนประเสริฐ. 2560. การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(1): 46-57.

ชนิดา เลิศพิทักษ์พงค์ ยศ ตีระวัฒนานนท์ มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ อุษา ฉายเกล็ดแก้ว จอมขวัญ โยธาสมุทร และกรรณิการ์ ฐิติบุญสุวรรณ. 2552. การประเมินผลการบังคับใช้มาตรการจำกัดการเข้าถึงและการหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 18(4): 537-549.

ฑิฆัมพร หอสิริ ชุรีกร วิทธิสันต์ และกนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ. 2559. ความชุกของพฤติกรรมการดื่มสุราและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดื่มสุราในนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 61(1): 3-14.

ดุษฎี อายุวัฒน์ และวณิชชา ณรงค์ชัย. 2555. การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีผู้จําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(1): 55-68.

ธงศักดิ์ ดอกจันทร์. 2558 . มาตรการในการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่นักศึกษาของร้านค้ารอบบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี 13(3): 9-19.

เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู ณัฐ ธารพานิช กิจวัตร ทาเจริญ สุขใจ ว่องไวศิริวัฒน์ และนพพล วิทย์วรพงศ์. 2559. เหล้า| ความจริง: รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย ประจำปี พ.ศ. 2558. เดือนตุลา, กรุงเทพฯ. 214 หน้า.

เพ็ญพักตร์ มุงคุณคำชาว. 2552. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ขอนแก่น. 95 หน้า.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. 2552. ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ. เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์, นนทบุรี. 42 หน้า.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย อโนชา หมึกทอง และถนอมศรี อินทนนท์. 2552. การเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. พิมพ์ดี, กรุงเทพฯ. 94 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ. 2551. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551. กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ. 16 หน้า.

สุพิมล ขอผล จินตวีร์พร แป้นแก้ว ธณัชช์นรี สโรบล สมพร สิทธิสงคราม สายัณห์ ชัยศรีสวัสดิ์ สุมาลี ชัยศรีสวัสดิ์ และประจวบ หน่อศักดิ์. 2557. การใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการดื่มสุราในชุมชนหมู่บ้านหนองเต่าคําใหม่ตําบลป่าไผ่ อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 313-324.

อัมมันดา ไชยกาญจน์ และอมรา ไชยกาญจน์. 2560. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 7(1): 103-113.

อารีกุล พวงสุวรรณ กัณณพนต์ ภักดีเศรษฐกุล และทักษพล ธรรมรังสี. 2555. การปฏิบัติตามกฎหมายของร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกี่ยวกับการจำกัดอายุของผู้ซื้อ. รายงานการวิจัย. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา, สงขลา. 51 หน้า.

Thomsen, S. and D. Revke. 2006. The relationship between viewing US- produced television programs and intentions to drink alcohol among a group of Norwegian adolescents. Scandinavian Journal of Psychology. 47: 33-41.