ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการกลุ่มแบบพึ่งตนเอง กรณีศึกษา กลุ่มทำครกหินบ้านไร่ศิลาทอง

Main Article Content

กนกวรรณ เวชกามา
ศศิมา ใจบุญ
ขวัญภิรมย์ เล็กสมบูรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการกลุ่มแบบพึ่งพาตนเอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการกลุ่มแบบพึ่งพาตนเอง โดยมีพื้นที่ที่ใช้เป็นกรณีศึกษาคือ กลุ่มทำครกหินบ้านไร่ศิลาทอง ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งภายในกลุ่มมีจำนวนสมาชิก 67 ราย ในการศึกษาเก็บข้อมูลร้อยละ 100 ของสมาชิกเป็นการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง  ปัจจัยที่ศึกษามีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกกลุ่มทำครกหินบ้านไร่ศิลาทอง ซึ่งประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำ ด้านความคิดริเริ่ม  ด้านการบริหารจัดการ ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจของสมาชิก ด้านการตลาด และด้านการคำนึงถึงสาธารณะประโยชน์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลโดยการใช้การสัมภาษณ์ แบ่งแบบสอบถามเป็นหัวข้อและให้ตอบตามระดับความเกี่ยวข้อง มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ไม่มีผลจากการศึกษาพบว่าระดับสูงที่สุดที่สมาชิกตอบคือระดับความเกี่ยวข้องระดับปานกลาง ซึ่งมีเพียง 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยด้านการเมืองท้องถิ่น และ ปัจจัยด้านการแสดงผลการประกอบการต่อสมาชิก ส่วนปัจจัยอื่น ๆ สมาชิกมีความเห็นถึงระดับความเกี่ยวข้องในระดับน้อย น้อยที่สุด และไม่มี  ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า การจัดการกลุ่มแบบพึ่งพาตนเอง กรณีศึกษา กลุ่มทำครกหินบ้านไร่ศิลาทอง นี้มุ่งเน้นด้านการผลิตและเศรษฐกิจ ส่วนปัจจัยต่าง ๆ ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกแทบไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งแสดงออกจากผลการศึกษาด้านหนี้สินก่อนและหลังการเข้าเป็นสมาชิกที่ลดน้อยลงตามลำดับ

Article Details

How to Cite
[1]
เวชกามา ก., ใจบุญ ศ. และ เล็กสมบูรณ์ ข. 2018. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการกลุ่มแบบพึ่งตนเอง กรณีศึกษา กลุ่มทำครกหินบ้านไร่ศิลาทอง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 1 (มิ.ย. 2018), 75–83.
บท
บทความวิจัย

References

จารุพงศ์ พลเดช. 2550. แผนชุมชน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://dongluang.cdd.go.th/km1/%E1%BC%B9%AA%D8%C1%AA%B9.pdf (22 ธันวาคม 2557).

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2539). การพัฒนาที่ยั่งยืน. มูลนิธิโกมลคีมทอง. กรุงเทพฯ. 280 หน้า.

วานิสา สุรินกาศ. 2551. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประเภท ผ้าไหมทอยกดอก กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าบ้าน ศรีเมืองยู้ ตำบลเวียงยอ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน.วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 90 หน้า.

วิทยา จันทะวงศ์ศรี. 2547. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. 150 หน้า.

สำนักงานพานิชย์จังหวัดลำปาง. 2556. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://lampang.go.th. (12 พฤษภาคม 2557).

สุกัญญา ดวงอุปมา. 2557. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต: ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 หน้า 133-139.

Deininger, Klaus and Yanyan Liu. 2013. \Economic and Social Impacts of an Innovative Self-Help Group Model in India. ELSEVIER 2013(43): 149-163.

Suprabha, K.R.. 2014. Empowerment of Self Help Groups (SHGs) towards Microenterprise Development. Procedia Economics and Finance. 2014(11): 410-422.

Upamanyu Datta. 2015. Socio-Economic Impacts of JEEViKA: A Large-Scale Self-Help Group Project in Bihar, India. World Development. Science direct. 2015(68): 1-18.