การพัฒนาระบบและกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคของชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้ ดำเนินการในพื้นที่ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาทรัพยากรน้ำ การมีการใช้น้ำ และการจัดหาน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคของชุมชนตำบลบ้านดง ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ 2) พัฒนาระบบและกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคของชุมชน และ 3) เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคอย่างยั่งยืน ผลจากการวิจัย พบว่า ชุมชนส่วนใหญ่ในตำบลบ้านดงมีปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำทางการเกษตร ปัญหาน้ำไม่เพียงพอและคุณภาพของน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค แต่ปัญหามีน้อยลงในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำแม่เมาะตอนบน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำสมบูรณ์ที่มีการดูแลรักษาอย่างดี และมีพื้นที่รับน้ำฝนจำนวนมาก แต่ละปีมีทรัพยากรน้ำทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพเพียงพอต่อการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการผลิตทางการเกษตรและการอุปโภคบริโภคของชุมชนได้ แต่ชุมชนยังขาดระบบและกลไกการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถนำทรัพยากรน้ำในพื้นที่มาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนตนเองได้อย่างเหมาะสม ทั้งเพื่อการผลิตภาคเกษตรกรรมและเพื่อการอุปโภคบริโภค การวิจัยแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้นำไปสู่ความเข้าใจร่วมกันและความตระหนักถึงผลดีที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในโครงการนี้ได้ก่อให้เกิด 1) การจัดตั้งคณะทำงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับตำบลและระดับชุมชน 2) การยกร่างข้อบัญญัติการบริหารจัดการน้ำระดับตำบลเพื่อการผลักดันสู่ขั้นตอนการรับหลักการของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง 3) การสำรวจแหล่งน้ำและร่วมกันจัดทำข้อมูลแผนที่แหล่งน้ำพร้อมพิกัดที่ตั้ง จำนวน 44 แห่ง นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชน ได้ร่วมโครงการนำร่อง 2 แห่ง ได้แก่ โครงการนำร่องการพัฒนาระบบกรองน้ำด้วยระบบกรองทรายช้า ในหมู่ที่ 4 บ้านจำปุย-ห้วยตาด และ โครงการนำร่องการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรระดับไร่นา ในหมู่ที่ 7 บ้านสวนป่าแม่เมาะ ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อชุมชนและส่งผลต่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างแท้จริง เป็นแนวทางการแก้ไขที่สอดคล้องต่อบริบทและความต้องการของชุมชนและสามารถถ่ายทอดสู่หมู่บ้านรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะอื่นต่อไป
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ณรงค์ศักดิ์ คุณูปถัมภ์. 2557. กฟผ.กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัด ลำปาง วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 1-9.
ไพโรจน์ อาจิริยะ. 2544. การจัดการและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนบ้านกลาง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 113 หน้า.
สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ และนิรมล มูนจินดา. 2545. คู่มือผู้นำนักสืบสายน้ำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัทอมรินทร์พริ้นท์ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพฯ. 52 หน้า.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.(2553). รายงานการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและนิเวศวิทยาแหล่งน้ำของอ่างเก็บน้ำแม่เมาะ. กรุงเทพฯ.
L.Huisman and W.E.Wood, 1974 Slow sand filtration, (online),available, WHO;http://www.who.int/water_sanitation_health/publications/ssf9241540370. pdf (26 August 2014)