แผนกลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

ชัยรัตน์ นทีประสิทธิพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับศึกษาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการสร้างแนวทางการทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี จากองค์กรและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 3 อำเภอ 30 ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่พบคือ การแย่งชิงพื้นที่การใช้บริการในการรับบริการด้านสุขภาพของโรงพยาบาลระหว่างต่างด้าวและคนในพื้นที่ และปัญหาโรคติดต่อที่มาจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมของ อปท.  สามารถนำมาสู่กลยุทธ์ในการเพิ่มศักยภาพของ อปท. ได้ดังนี้ กลยุทธ์พลิกฟื้น โดยการทำโครงการที่เฉพาะด้านระบุผู้รับผิดชอบหลัก เป็นบุคคลภายนอก หรือผู้เชี่ยวชาญ กลยุทธ์ตัดทอน โดยการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายนอก กลยุทธ์เชิงรุก โดยการทำความร่วมมือกับพื้นที่ข้างเคียง และคนต่างด้าวภายในพื้นที่ กำหนดยุทธศาสตร์ สร้างเครือข่ายจิตอาสา และกลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ โดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนให้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาไม่ปล่อยให้เป็นภาระแต่เพียง อปท. เท่านั้น

Article Details

How to Cite
[1]
นทีประสิทธิพร ช. 2018. แผนกลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 3 (ส.ค. 2018), 643–664.
บท
บทความวิจัย

References

กวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์ สุพัตรา ศรีวณิชชากร จุฑาธิป ศีลบุตร เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล และสมชาย วิริภิรมย์กุล. 2557. ศักยภาพขององค์กรท้องถิ่นในการจัดการดูแลผู้สูงอายุทุพพลภาพในชุมชน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 8(2): 132-141.

กิริยา กุลกลการ. 2557. การบริหารจัดการแรงงานต่างชาติในประเทศไทยและต่างประเทศ. วนิดาการพิมพ์, นนทบุรี. 390 หน้า.

จรวยพร ศรีศศลักษณ์. 2552. การดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 3(4): 581-588.

จินดา ธำรงอาจริยกุล. 2558. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการผลักดันวาระนโยบายด้านปัญหาแรงงานต่างด้าว: กรณีศึกษาเทศบาลนครสมุทรสาคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี 9(20): 59-73.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ และสายสมร เฉลยกิตติ. 2559. ประชาคมอาเซียนกับระบบสุขภาพไทย. วารสารพยาบาลทหารบก 17(3): 10-16.

ไททัศน์ มาลา เกษมชาติ นเรศเสนีย์ และบุญเลิศ ไพรินทร์. 2557. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับโอกาสและความท้าทายในการจัดบริการสาธารณะ เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 9(3): 159-172.

ธนวัฒน์ ชุมแสง. 2555. เทศบาลนครเชียงใหม่กำชับศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนในสังกัดเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ห่วงเด็กต่างด้าวที่เป็นประชากรแฝง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://chiangmai.prdnorth.in.th/detail_new.php?id=11905. (20 กันยายน 2559).

ปรีดา แต้อารักษ์ นิภาพรรณ สุขศิริ รำไพ แก้ววิเชียร และ กิรณา แต้อารักษ์. 2550. ทบทวนการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542-2550. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2(2): 179-194.

พรรณอร พัฒนการค้า. 2560. ปัจจัยความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558: กรณีศึกษาเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 6(1): 115-125.

ศรีสุดา รัศมีพงษ์ ศศิธร วรรณพงษ์ และ จารุวรรณ ไผ่ตระกูล. 2553. ศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่ภาคกลางในการมีส่วนร่วมผลิตพยาบาลชุมชน. วารสารไทยเภสัชศาสตร์ และวิทยาการสุขภาพ
5: 162-168.

สุนทรชัย ชอบยศ. 2559. การศึกษาความร่วมมือด้านการจัดการสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียง. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ 14(2): 129-154.

สุนทรี สุรัตน์ กิตติ ศศิวิมลลักษณ์ เกวลี เครือจักร และวิโรจน์ มงคลเทพ. 2559. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในพื้นที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2): 297-307.

สุภัชญา สุนันต๊ะ. 2561. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 4(1): 98-107.

เสนีย์ คำสุข. 2560. แนวทางการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการเข้าสู่อาเซียน. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง 6(1): 122-167.

สำนักงานแรงงานจังหวัดเชียงใหม่. 2559. สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2559. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.chiangmai.mol.go.th (22 กันยายน 2559).

อมรรัตน์ สวนชูผล สะอาด บรรเจิดฤทธิ์ และลลิดา แก้วฉาย. 2560. การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 12(2): 145-157.

อรปวีณ์ ธรรมานุชิต. 2559. บทบาทของคณะผู้บริหารในฐานะผู้นาการเปลี่ยนแปลงต่อการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริหารปกครอง 5(2): 179-197.

Waterman, R. H., T.J. Peters and J. R. Phillips. 1980. Structure is not organization, Business Horizons, 23(3): 14-26.