การผลิตด้วยทุนวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ

Main Article Content

ตุนท์ ชมชื่น
จักรพันธ์ ชัยทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มุ่งศึกษาถึงรูปแบบการผลิตด้วยทุนวัฒนธรรม ศักยภาพการผลิตด้วยทุนทางวัฒนธรรมและความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ 3 พื้นที่ คือ ชุมชนโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ชุมชนเชียงตุง เมืองเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และชุมชนเมืองสิง แขวงหลวงน้ำทา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการผลิตด้วยทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนโป่งผา มีรูปแบบการผลิตด้วยทุนวัฒนธรรมที่สำคัญ คือ การเกษตร การแปรรูปสินค้าเกษตร งานหัตถกรรมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชุมชนเชียงตุงมีรูปแบบการผลิตด้วยทุนวัฒนธรรม คือ สถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรมพุทธศาสนา ภูมิปัญญาด้านการเกษตร การทำมีด การทำเครื่องปั้นดินเผาและการทำเครื่องเขิน ส่วนชุมชนเมืองสิงมีรูปแบบการผลิตด้วยทุนวัฒนธรรม คือ การเกษตร ปลูกข้าว ทำไร่ เลี้ยงสัตว์และการท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน  2) ศักยภาพการผลิตด้วยทุนวัฒนธรรมของชุมชนโป่งผา มีศักยภาพสูงในทุกด้าน ส่วนชุมชนเชียงตุงและชุมชนเมืองสิงมีศักยภาพการผลิตด้วยทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนค่อนข้างจำกัด และ  3) ประชาชนทั้ง 3 ชุมชน ต่างเห็นด้วยกับการผลิตสินค้าด้วยทุนทางวัฒนธรรม

Article Details

How to Cite
[1]
ชมชื่น ต. และ ชัยทัศน์ จ. 2018. การผลิตด้วยทุนวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 3 (มิ.ย. 2018), 389–400.
บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา แย้มโพธิ์ใช้. 2550. บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาในมิติเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วิทยา นิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 167 หน้า

กาญจนา แก้วเทพ และกนกศักดิ์ แก้วเทพ. 2530. การพึ่งตนเอง: ศักยภาพในการพัฒนาของชนบท. สำนักเลขาธิการสภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา, กรุงเทพฯ. 264 หน้า.

กิตติกร สาสุจิตต์, นิกราน หอมดวง และณัฐวุฒิ ดุษฎี. 2557. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงบ้านหนองไซตำบลป่าสัก จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(2): 125-132.

จริน ศิริ. 2548. การพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านการท่องเที่ยวโดยใช้วัฒนธรรมชุมชนเป็นฐานการพัฒนา: กรณีชุมชนเมืองกึ๊ด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารปาริชาติ. 18 (1) : 24-42.

จุลดิษฐ์ อุปฮาต. 2543. ศิลปะกับการพัฒนาอาชีพของชุมชนท้องถิ่นจังหวัดเลย. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. เลย. 135 หน้า.

ชลธิศ ดาราวงษ์. 2556. การบริหารพนักงานข้ามชาติในยุคการค้าเสรีอาเซียน. วารสารบริหารธุรกิจ 36 (2): 28-39.

ตุนท์ ชมชื่น. 2557. การเสริมสร้างศักยภาพการผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: กรณีชุมชนตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(2): 203-214.

ประเวศ วะสี. 2536. การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา. หน้า 102- 169. ใน: เสรี พงศ์พิศ. (บก.). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. มูลนิธิภูมิปัญญา, กรุงเทพมหานคร

ปราณี เพชรแก้ว. 2549. ศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์จากใบยางพาราของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรควนสุบรรณ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี, สุราษฏร์ธานี. 112 หน้า.

ปรีชา เปียมพงศ์สานต์. 2537. วิทยศึกษาสังคมไทย: วิถีใหม่แห่งการพัฒนา. โครงการส่งเสริมองค์กรพัฒนาเอกชนไทย, กรุงเทพฯ. 120 หน้า.

ปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์. 2549. การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการผลิตของเกษตรกรในภาคตะวันออก: กรณีศึกษาผู้นำกลุ่มอนุรักษ์สมุนไพร จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.136 หน้า.

พรทิพย์ กิจเจริญไพศาล. 2553. การศึกษาทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ. กรุงเทพฯ. 112 หน้า.

พิศาพิมพ์ จันทร์พรหม. 2545. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, เชียงใหม่. 95 หน้า.

ไพทูรย์ ทองทรัพย์. 2553. การสร้างอาชีพเสริมจากวัสดุท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน ตำบลตลุกดู่ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.70 หน้า.

มลิวรรณ์ กิจชัยเจริญ, สุภาวดี ศรีแย้ม, จิรรัชต์ กันทะขู้ และบุษบา มะโนแสน. 2557. การพัฒนาศักยภาพด้านการแปรรูปมะไฟจีน ของกลุ่มแปรรูปมะไฟจีน ตำบลท่าน้าวอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): หน้า333-341.

ลักขณา จัตุโพธ์. 2541. เครื่องจักรสานไม้ไผ่ของชาวผู้ไทยบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. 254 หน้า.

ศรชัย ไทรชมพู. 2548. การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน วิถีชีวิตวัฒนธรรมไทยและมอญ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, กรุงเทพฯ.168 หน้า.

ศรีสุดา พรมทอง. 2549. วิถีชีวิตและวัฒนธรรมพื้นบ้านกับการสืบสานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย-สุพรรณบุรี). วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ.170 หน้า.

สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์. 2551. การวิเคราะห์การก่อเกิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยปฏิฐานนิยมและหลังปฏิฐานนิยม. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม. 118 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2551. แนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 180 หน้า.

สุทธิรา ขุมกระโทกและคณะ. 2548. การพัฒนาพืชผักพื้นบ้านอีสานเพื่อเศรษฐกิจชุมชน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. 111 หน้า.

อัจฉรา ภาณุรัตน์และคณะ. 2546. รายงานการศึกษาเบื้องต้นโครงการวิจัยกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฎ สุรินทร์, สุรินทร์. 96 หน้า.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. 2544. ภาพรวมภูมิปัญญาไทย. อมรินทร์, กรุงเทพฯ. 128 หน้า.
Throsby, D., & Throsby, C. D. 2001. Economics and culture, Cambridge university press. 194 หน้า.