การประเมินเบื้องต้นของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในการจัดการทรัพยากรชุมชนตามหลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านโคกไม้งาม ตำบลศรีสุข อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ดวงรัชนี เต็งสกุล
วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นจากกิจกรรมในชุมชนบ้านโคกไม้งามและประเมินปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของชุมชนเพื่อให้ข้อเสนอต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชน ผู้นำวิสาหกิจชุมชน และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent) และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของชุมชนด้วยตัวชี้วัด 7 ด้าน ผลการศึกษาพบว่า การเชื่อมโยงทรัพยากรจากการทำกิจกรรมชุมชน 3 กิจกรรมให้สอดคล้องกับหลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรมช่วยลดต้นทุนการดำเนินการและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เฉลี่ยร้อยละ 22.50 ต่อปี โดยปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและนำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนมากที่สุด คือผู้นำชุมชนมีความรู้ความสามารถหลายด้านรองลงมา คือ คนในชุมชนไว้วางใจต่อผู้นำชุมชน และการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนและการพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
เต็งสกุล ด. และ ภู่จินดา ว. 2018. การประเมินเบื้องต้นของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในการจัดการทรัพยากรชุมชนตามหลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านโคกไม้งาม ตำบลศรีสุข อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 2 (มิ.ย. 2018), 308–320.
บท
บทความวิจัย

References

ขุนเพชร แก้วมุ้ย. 2554. การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์บำรุงดินจากเปลือกถั่วลิสงแห้ง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.rakbankerd.com/agriculture/ page.php?id=7088&s=tblplant (11 กันยายน 2558).

ชวนี ทองโรจน์. 2554. การวิจัยวัฒนธรรมเพื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 7(1): 129-138.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และ พิทยา ว่องกุล. 2554. วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์เอดิสันเพลส โปรดักส์, กรุงเทพฯ. 266 หน้า.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 2558. คาร์บอนฟุตปริ้นของกระบวนการปลูกเมล็ดกาแฟในวิสาหกิจชุมชน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://gsbooks.gs.kku.ac.th/58/the34th/pdf/PMP8.pdf (4 ธันวาคม 2558).

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2550. เทคนิคการปรับปรุงบำรุงดิน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.gotoknow.org/posts/147570 (10 กันยายน 2558).

วลัญชา สุพรรณธริกา. 2555. สังคมอุดมสุขที่ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ. 185 หน้า.

วิสาขา ภู่จินดา. 2555. การประยุกต์หลักนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน กรณีศึกษาบ้านภูไทพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร 20 (2): 54-61.

สนธยา พลศรี. 2533. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 247 หน้า.

สุกัญญา ดวงอุปมา. 2557. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2 (2): 133-139.

สุภางค์ จันทวานิช. 2554. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 233 หน้า.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). 2555. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ปี 2555. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก, กรุงเทพฯ. 92 หน้า.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). 2554. รายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย. เอกสารวิชาการ. ศูนย์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ. 14 หน้า.

Blatchford, E. 1994. Working together for community economic development in rural alska. Economic Development Review. 12(1): 41-45.

Energy Saving. 2012. Zero waste management. (Online). Available: http://www.energysavingmedia.com/news/page.php?a=10&n=109&cno =3007 (April 30, 2013).

Roseland, M. 1997. Dimension of eco-city. Cities 14 (4): 197-202.

United Nations Framework Convention on Climate Change. 2013. GHG emission profiles for Annex I Parties and major groups (Online). Available: http://unfccc.int/ghg_data/ghg_data_unfccc/ghg_profiles/items/4625.php (April 30, 2013).