ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยเบาหวาน ในพื้นที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

กิตติ ศศิวิมลลักษณ์
สุนทรี สุรัตน์
เกวลี เครือจักร
วิโรจน์ มงคลเทพ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ของพฤติกรรมการดูแลตัวเองผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 288 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นในพื้นที่รับผิดชอบของ 17 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.79 , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) ส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมต่างมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยค่าความสัมพันธ์ของปัจจัยนำกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับต่ำ  (r<0.30) ค่าความสัมพันธ์ของปัจจัยเอื้อกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานนอยู่ในระดับปานกลาง (r=0.30-0.70)  และค่าความสัมพันธ์ของปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง (r=0.30-0.70)

Article Details

How to Cite
[1]
ศศิวิมลลักษณ์ ก., สุรัตน์ ส., เครือจักร เ. และ มงคลเทพ ว. 2018. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยเบาหวาน ในพื้นที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 2 (มิ.ย. 2018), 297–307.
บท
บทความวิจัย

References

จาตุรงค์ ประดิษฐ์. 2540. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 87 หน้า.

ณิชารีย์ ใจคําวัง. 2558. พฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านปากคะยาง จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(2): 173-184.

เทพ หิมะทองคำ และคณะ. 2543. ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). จูนพลับลิชชิ่งจำกัด, กรุงเทพฯ. 250 หน้า.

นริสา ศรีลาชัย. 2540. การศึกษากระบวนการแสวงหาบริการสุขภาพของผู้หญิงโรคเบาหวานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 140 หน้า.

นรีรัตน์ วิทยาคุณ. 2546. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนที่รับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ลำปางเวชสาร 24(3): 147-154.

พงศ์อมร บุนนาค. 2542. เทคนิคการดูแลรักษาโรคเบาหวาน: การทบทวนปัจจัยด้านพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสริมต่อโรค. สำนักพิมพ์พัฒนาวิชาการแพทย์ส่วนพฤติกรรมและสังคม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี. 65 หน้า.

พวงพยอม การภิญโญ. 2526. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับการให้ความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 158 หน้า.

ภานุพันธุ์ พุฒสุข. 2542. ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 150 หน้า.

มุทิตา ชมภูศรี. 2550. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานหน่วยบริการปฐมภูมิในเขต อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 135 หน้า.

ศรียา วัฒนพาหุ และสนม สาระนพ. 2540. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน. โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 6(4): 613-622.

ศิริพร ปาระมะ. 2545. ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 72 หน้า.

สมใจ ผ่านภูวงษ์. 2556. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้ป่วยเบาหวานในเขตเทศบาลตำบลวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 9 (1): 155-159.

สมศักดิ์ ค้าธัญญมงคล และอัชฌา แขวงม่วงชุม. 2541. ปัจจัยที่มีผลต่อการพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. โรงพยาบาลบางระกำ, พิษณุโลก. 95 หน้า.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่จัน. 2557. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ. สถิติเวชระเบียน. โรงพยาบาลแม่จัน, เชียงราย. 14 หน้า.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2554. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. ศรีเมืองการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 189 หน้า.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.2552. ประเด็นรณรงค์วันเบาหวานโลก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://old.ddc.moph.go.th/advice/ showimgpic.php?id=348 (1 มีนาคม 2552).

อโณทัย เหล่าเที่ยง. 2550. ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมควบคุมน้าตาลในเลือดของผู้เป็นโรคเบาหวานโรงพยาบาลฮอด จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 118 หน้า.

Green, L. W. and M. W. Kreuter. 1999. Health Promotion Planning: An Educational and Environmental approach. Mayfield Publishing, Mountain View, California. 621 p.

Krejcie, R. V. and D. W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 30(3): 607-610.