การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรมสุขภาพ กรณีศึกษาลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน

Main Article Content

สามารถ ใจเตี้ย
สิวลี รัตนปัญญา
รพีพร เทียมจันทร์
สมชาย แสนวงศ์
พันนภา อุสาห์ใจ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ชุมชนในการสร้างเสริมวัฒนธรรมสุขภาพ ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชาชนพื้นที่ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูนและผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 49 คน  รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ  การสนทนากลุ่ม การวิจัยเอกสาร และกระบวนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์กระบวนทัศน์และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า กิจกรรมการเสริมสร้างการเรียนรู้ชุมชนทั้งการสำรวจแหล่งวัฒนธรรมสุขภาพ  และการวิเคราะห์สภาพการณ์ได้สะท้อนทางเลือกในการใช้ประโยชน์วัฒนธรรมสุขภาพ และนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการใช้ประโยชน์วัฒนธรรมสุขภาพที่มุ่งเน้นการก่อเกิดกระบวนการมีส่วนร่วม  และการวางแผนการสร้างเสริมกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนภายใต้กฎเกณฑ์ชุมชนและแนวคิดวัฒนธรรมสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมสุขภาพ จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมสุขภาพเป็นศาสตร์ในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่อาศัยความเชื่อ ความศรัทธาและทรัพยากรในท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
[1]
ใจเตี้ย ส., รัตนปัญญา ส., เทียมจันทร์ ร., แสนวงศ์ ส. และ อุสาห์ใจ พ. 2018. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรมสุขภาพ กรณีศึกษาลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 2 (มิ.ย. 2018), 284–296.
บท
บทความวิจัย

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. 2547. หลักการพื้นฐานของสุขภาพองค์รวมในการบำบัดทางเลือกและสุขภาพองค์รวม. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.dtam.
moph.go.th /alternative /downloads/altertreatment.pdf (10 มกราคม 2558)

คณะกรรมการลุ่มน้ำปิงตอนบน. 2554. โครงการจัดทำแผนรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง. เอกสารอัดสำเนา.

จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า วิรุณ ตั้งเจริญ พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ และวิชัย วงษ์ใหญ่. 2556. การมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนลาดพร้าว. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ 14 (2): 35 – 48.

พัทยา นีละภมร. 2550. โครงการฟื้นภูมิปัญญารักษาสุขภาพ. เชียงใหม่: โครงการนวัตกรรมการบริการสุขปฐมภูมิ.

ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ดนัย กล่าวแล้ว และอรทัย แฝงจันดา. 2549. บทเรียนการพัฒนานโยบายสาธารณะการจัดทำแผนลุ่มน้ำภาคประชาชน: กรณีศึกษาลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง. นนทบุรี: สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข.

ยุพา อภิโกมลการ. 2551. การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดแบบพื้นบ้านภาคเหนือ: กรณีศึกษาบ้านหัวเสือ ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 6(2): 148 – 157.

วรวัฒน์ ทิพจ้อย. 2557. ภูมิปัญญาของหมอน้ำมนต์พื้นบ้านในการรักษาโรคกระดูกจากอุบัติเหตุศึกษาเฉพาะนายประเสริฐ ผลาพฤกษ์.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 189 - 202.

วิชัย กิจมี. 2550. กระบวนการเรียนรู้กับศักยภาพของชุมชนในการจัดการที่ดินร่วมกันในลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 235 หน้า.

สามารถ ใจเตี้ย และชวลิต วโรดมรังสิมันต์.2556. ความเสื่อมสภาพของแม่น้ำลี้และนโยบายสาธารณะ. ร่มพฤกษ์. 31(1):132 – 156.

Busisiwe, P. N. 2005. Models of community / home-based care for people living with HIV/AIDS in Southern Africa. Association of Nurses in AIDS care 16(3): 33 – 40.