วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอาหารของชาวผู้ไทในจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอาหารของชาวผู้ไทในจังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจำแนกประเภทอาหารพื้นบ้านท้องถิ่นของผู้ไท ในจังหวัดอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้เทคนิคการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาความหลากหลาย ประเภท ชนิดรวมถึงส่วนประกอบและความรู้ในวิธีการทำอาหารท้องถิ่นของชาวผู้ไท เพื่อนำไปสู่การจัดระบบฐานข้อมูล โดยการศึกษา แนวคิด AIC แนวคิดการจัดระบบฐานข้อมูลโดยมีประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มสตรีแม่บ้านถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง ในจังหวัดอุดรธานี จากข้อมูลภูมิปัญญาพื้นถิ่นด้านอาหารของชาวผู้ไท พบว่า ภูมิปัญญาอาหารของชาวผู้ไทที่เป็นเอกลักษณ์แสดงออกถึงความเป็น อัตลักษณ์เฉพาะของชาวผู้ไท สามารถจำแนกประเภทอาหารพื้นบ้านท้องถิ่นได้ดังนี้ คือ1. อาหารคาว ได้แก่ ประเภทต้ม,แกง/ประเภทอ่อม/ประเภทซุบ/ป่น/ประเภทลาบ/ประเภทน้ำพริก/แจ่ว 2. อาหารหวานหรือขนมหวาน ได้แก่ ประเภทนึ่ง /ประเภทบวด/ประเภทน้ำกะทิอาหารของชาวผู้ไทที่เป็นเอกลักษณ์แสดงออกถึงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของชาวผู้ไทอาหารหวาน คือ ข้าวต้มหมากสาลี (ข้าวต้มข้าวโพดสาลี) อาหารคาว คือ ต้มซั่วไก่
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
กระทรวงสาธารณสุข. 2540. แผนงานโภชนาการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 พ.ศ.2544-2549. กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพฯ.
ทรงคุณ จันทจร. 2549. เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรมขั้นสูง. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หน้า 54-56.
ปัณฉัตร หมอยาดี. 2553. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชาวผู้ไท บ้านสร้างค้อ จังหวัดสกลนคร: รายงานการวิจัยฉบับย่อ. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,นนทบุรี. 38 หน้า.
วรวัฒน์ ทิพย์จ้อย.2557.ภูมิปัญญาของหมอน้ามนต์พื้นบ้านในการรักษาโรค กระดูกจากอุบัติเหตุศึกษาเฉพาะประเสริฐ ผลาพฤษ์.วารสารการพัฒนา ชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(2)189 - 202.