การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืนของครัวเรือนเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านโนนสง่า ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

สุกัญญา ดวงอุปมา
ภัทราพร ภาระนาค
ปารีณา แอนเดอร์สัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนของบ้านโนนสง่า ตำบลหนองกุง  อำเภอเมือง  จังหวัดกาฬสินธุ์ เกี่ยวกับบริบทชุมชน ศักยภาพ ปัญหา ข้อจำกัดและเศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะของชาวบ้านโนนสง่า  โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า หมู่บ้านเป็นที่ดอนสลับที่ลุ่ม  ดินร่วนปนทราย ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อยู่กันแบบเครือญาติ  มีกลุ่มสวัสดิการชุมชน มีวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน ปัญหาขาดการส่งเสริมการจัดกลุ่มอาชีพอย่างต่อเนื่องและพื้นที่จัดตั้งกลุ่ม และขาดน้ำเพื่อการเกษตร ชาวบ้านมองว่าเศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นในการดำเนินชีวิต มีการวางแผนใช้จ่าย สร้างวินัยในการออม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและ มีความรู้และคุณธรรม ติดตาม ข่าวสารในปัจจุบัน เรียนรู้จากการปฏิบัติและประเมินผล มีการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ควรส่งเสริมและพัฒนากลุ่มปุ๋ยชีวภาพ การปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ สร้างตลาดชุมชนขายสินค้าและผลิตผล ส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน

Article Details

How to Cite
[1]
ดวงอุปมา ส., ภาระนาค ภ. และ แอนเดอร์สัน ป. 2018. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืนของครัวเรือนเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านโนนสง่า ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 2 (มิ.ย. 2018), 212–223.
บท
บทความวิจัย

References

ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์ กาญจนา รอดแก้ว ประไพ ศิวะลีราวิลาศ พรหมพิริยะ พนาสนธิ์ ศยามล ลัคนาสถิตย์ และรังสรรค์ หังสนาวิน. 2554. ประโยชน์สุขจากเศรษฐกิจพอเพียง. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: http://www.cdd.go.th/cddwarehouse/ pdf/r_01.pdf. (16 กรกฎาคม 2556).

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. 2551. คำปรารภ ใน คำพ่อสอน: ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิพระดาบส, กรุงเทพฯ. 408 หน้า.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. 2546. การพัฒนาองค์กรชุมชน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชานี. 203 หน้า.

บุญชม ศรีสะอาด. 2535. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2 สํานักพิมพ์สุวีริยาสาส์น,กรุงเทพฯ. 168 หน้า.

พหล ศักดิ์คะทัศน์ และสุรชัย กังวล. 2557. ตัวชี้วัดและการจัดกลุ่มหมู่บ้านชนบทเพื่อความเหมาะสมในการจัดฝึกอบรมโครงการเกษตร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 285-293.

สุขใส ดอนกระสินธุ์. 2556. แผนพัฒนาหมู่บ้านโนนสง่า. บ้านโนนสง่า ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. 50 หน้า.

ลำยอง ปลั่งกลาง และฉัตรชัย นิยะบุญ. 2550. การศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล : http://management.aru.ac.th/ctour/images /pdf/article/article6.pdf (16 สิงหาคม 2556).

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช. 2556. เติมพลังความฝัน: สร้างสรรค์พัฒนาชุมชนวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล : http://www.cdd.go.th/cddwarehouse/research.php (3 สิงหาคม 2556).

สุกัญญา ดวงอุปมา. 2557. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 133-139