ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย

Main Article Content

ดลฤดี จันทร์แก้ว
วิรินดา สุทธิพรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง คือ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ปี พ.ศ. 2554 เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด (นครพนม มหาสารคาม และสุรินทร์) ผู้ให้ข้อมูล คือผู้ใหญ่บ้าน ผู้รู้ ผู้อาวุโส ผู้นำทางวัฒนธรรม ผู้นำทางการปกครอง ผู้นำเยาวชน ประธานกลุ่ม สมาชิกกลุ่มต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร และชุมชน จำนวน 110 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) เปรียบเทียบรายกลุ่มด้วย LSD ทดสอบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรมเกิดจากการถ่ายทอดความรู้สู่อีกรุ่นมากที่สุด รองลงมาคือ การแก้ปัญหาจากการผลิต, การผสมผสานการเกษตรและเทคโนโลยี, การแก้ปัญหาจากการทำการตลาด และการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยี ในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนพิจารณาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชน ความสามารถในการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจของชุมชน การจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจและการผลิตและการบริโภคในชุมชน  เมื่อทดสอบ จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามระยะเวลาที่อยู่ในชุมชนและประเภทระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบแตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
[1]
จันทร์แก้ว ด. และ สุทธิพรม ว. 2018. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 2 (มิ.ย. 2018), 188–199.
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ฉิมพลี. 2555. รูปแบบการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักรสาน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ. 372 หน้า.

กรมพัฒนาชุมชน. 2554. การศึกษาผลสำเร็จของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ. สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน, กรุงเทพฯ. 210 หน้า.

ปรียา โสภณา ชาตรี ศิริสวัสดิ์ สิทธิศักดิ์ คำผา และสุวกิจ ศรีปัดถา. 2553. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความเข้มแข็งของหมู่บ้านชุมชนชนบท. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 4(2): 63-73.

ยศ สันติสมบัติ. 2542. ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 226 หน้า.

วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. 2553. กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง: รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัด. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ 8(2): 119-158.

วารุณี พงษ์ภิญโญ. 2548. ภูมิปัญญาชาวบ้านต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษาบ้าน อัมพวัน หมู่ 8 ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย. 213 หน้า.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. 2554. สุขภาพไทย: เอชไอเอ กลไกพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อชีวิตและสุขภาพ. สถาบันวิจัยประชาชนและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 123 หน้า.

สุนิตดา ชูสวัสดิ์. 2555. ภูมิปัญญาชาวบ้านต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านโหล๊ะหาร อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา. 102 หน้า.

สมนึก ปัญญาสิงห์ เศกสรรค์ ยงวณิชย์ และพุทธรักษ์ ปราบนอก. 2557. ตัวแบบการจัดการการพัฒนาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(1) มกราคม – เมษายน 2557: 11-22.

สมบูรณ์ ธรรมลังกา. 2556. รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 15(2): 58-66.

สุกัญญา ดวงอุปมา. 2557. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(2) พฤษภาคม – สิงหาคม 2557: 133-139.

สุกัญญา ดวงอุปมา และ ภัทรพร ภาระนาค. 2556. การถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1(3) กันยายน – ธันวาคม 2556: 195-203.

สุภาสินี ตันติศรีสุข. 2555. การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. วารสารเศรษฐศาสตร์สุโขทัย ธรรมาธิราช 6(2): 1-10.

สาวิณี รอดสิน. 2554. ชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านปางจำปี ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ. 147 หน้า

สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2545. วัฒนธรรมไทย. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 198 หน้า

เอกวิทย์ ณ ถลาง. 2540. ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ชาวบ้านไทย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 378 หน้า

Avey, J. B., F. Luthans, S.T. Hannah, D. Sweetman and C. Peterson. 2012. Impact of employees' character strengths of wisdom on stress and creative performance. Human Resource Management Journal 22(2): 165–181.

Bang, H. Y. and Zhou. 2014. The function of wisdom dimensions in ego-identity development among Chinese university students. International Journal of Psychology 49(6): 434-445.

Staudinger, U. M., and J. Gluck. 2011. Psychological wisdom research: Commonalities and differences in a growing field. Annual Review of Psychology 62: 215–241.