ความต้านทานแรงอัดของคอนกรีตผสมเถ้าปาล์มน้ำมันแทนซีเมนต์ และหินฝุ่นแทนทรายบางส่วน

Main Article Content

ประชุม คำพุฒ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เถ้าปาล์มและหินฝุ่นเป็นส่วนผสมในคอนกรีตทั่วไป กำหนดอัตราส่วนปูนซีเมนต์: มวลรวมละเอียด: มวลรวมหยาบ เท่ากับ 1: 2: 4 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.55 โดยน้ำหนัก แทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าปาล์มปริมาณ เท่ากับ 0.0, 0.1, 0.2, และ 0.3 โดยน้ำหนัก และแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่นปริมาณ เท่ากับ 0.0, 1.4, 1.6, 1.8, และ 2.0 โดยน้ำหนัก ทดสอบการยุบตัวและการก่อตัวของคอนกรีตสดก่อนขึ้นรูปเป็นแท่งคอนกรีตทรงกระบอก ทำการทดสอบสมบัติของแท่งคอนกรีตตามมาตรฐาน ASTM จากผลการทดสอบ พบว่า การผสมเถ้าปาล์มและหินฝุ่นในปริมาณที่เหมาะสม สามารถพัฒนาสมบัติทางกายภาพและทางกลให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อผสมเถ้าปาล์มในปริมาณ 0.1 โดยน้ำหนัก และหินฝุ่นในปริมาณ 1.8 โดยน้ำหนัก

Article Details

How to Cite
[1]
คำพุฒ ป. 2018. ความต้านทานแรงอัดของคอนกรีตผสมเถ้าปาล์มน้ำมันแทนซีเมนต์ และหินฝุ่นแทนทรายบางส่วน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 3 (มิ.ย. 2018), 461–470.
บท
บทความวิจัย

References

ชัย จาตุรพิทักษ์กุล และวีรชาติ ตั้งจิรภัทร. 2555. การใช้ประโยชน์จากเถ้าและวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเป็นวัสดุในงานคอนกรีต. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ:94.

ประชุม คำพุฒ กิตติพงษ์ สุวีโร นิรมล ปั้นลาย และธงเทพ ศิริโสดา. 2558. การใช้เศษหินภูเขาไฟในผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 115-122.

ปริญญาจินดาประเสริฐ และชัยจาตุรพิทักษ์กุล. 2555. ปูนซีเมนต์ ปอซโซลาน และคอนกรีต.พิมพ์ครั้งที่ 7. สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย,กรุงเทพฯ:381 หน้า.

เผ่าพงศ์ นิจจันทร์พันธ์ศรี และประชุม คำพุฒ, 2548. การใช้หินฝุ่นผสมคอนกรีตแทนทราย.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.133 หน้า.

วีรชาติ ตั้งจิรภัทรจตุพล ตั้งปกาศิตศักดิ์สินธุ์ แววคุ้ม และชัย จาตุรพิทักษ์กุล. 2546. วัสดุปอซโซลานชนิดใหม่จากเถ้าปาล์มน้ำมัน.วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 26 (4):459 – 474.

American Society for Testing and Materials (ASTM). 2012. Annual Book of ASTM Standards. ASTM, Philadelphia.

Hussin, M.W. and A.S.M.A. Awal. 1996. Palm oil fuel ash – A potential pozzolanic material in concrete construction. In: Proceedings of the International Conference on Urban Engineering in Asian Cities in the 21st Century, Bangkok. pp. D361-D366.

Tay, J.H. 1990. Ash from oil-palm waste as concrete material. Journal of Material in Civil Engineering 2(2):94-105.

Tangchirapat, W., T. Saeting, C. Jaturapitakkul, K. Kiattikomol and A. Siripanichgorn. 2007. Use of waste ash from palm oil industry in concrete. Waste Management 27(1):81-88.