ผลิตภัณฑ์กระเบื้องยางพาราผสมเศษขยะพลาสติกเหลือทิ้ง จากโรงงานอุตสาหกรรม

Main Article Content

วิหาร ดีปัญญา
กิตติพงษ์ สุวีโร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเบื้องยางพาราผสมเศษขยะพลาสติกเอทิลีนไวนิลอะซิเตท (พลาสติกอีวีเอ) จากโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้ยางพาราแท่ง STR20 ในปริมาณเท่ากับ 100 phr ต่อพลาสติกอีวีเอที่ย่อยผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ในปริมาณ 0, 5, 10, 20, 40, และ 80 phr ตามลำดับ ผสมปริมาณสารเคมีในอัตราส่วนคงที่ ประกอบด้วย ซิงค์ออกไซด์ เท่ากับ 5 phr กรดสเตียริก เท่ากับ 2 phr กำมะถัน เท่ากับ 3 phr เมอร์แคบโตเบนโซไทเอซอล เท่ากับ 0.5 phr ไดฟีนิลกัวนิดีน เท่ากับ 0.2 phr ทำการบดผสมด้วยเครื่องบดแบบสองลูกกลิ้ง แล้วอัดขึ้นรูปด้วยวิธีอัดแบบร้อนที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ได้แผ่นยางขนาด 30x30x0.2 เซนติเมตร ทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน ASTM พบว่า กระเบื้องยางพาราผสมพลาสติกอีวีเอ อัตราส่วน 10 phr มีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับนำไปปูพื้นและตกแต่งผนังอาคาร เนื่องจากมีค่าความแข็งและความต้านทานการสึกหรอที่มากขึ้น ส่วนความหนาแน่นและสัมประสิทธิ์การนำความร้อนมีค่าต่ำลง เมื่อเทียบกับกระเบื้องยางพาราที่ไม่มีพลาสติกอีวีเอ

Article Details

How to Cite
[1]
ดีปัญญา ว. และ สุวีโร ก. 2018. ผลิตภัณฑ์กระเบื้องยางพาราผสมเศษขยะพลาสติกเหลือทิ้ง จากโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 3 (มิ.ย. 2018), 451–460.
บท
บทความวิจัย

References

ธนัญชัย ปคุณวรกิจ พันธุดา พุฒิไพโรจน์ วรธรรม อุ่นจิตติชัย และพรรณจิรา ทิศาวิภาต. 2549. ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของฉนวนอาคารจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม / การผังเมือง 3(4): 119 - 126.

ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. 2556. การป้องกันสารพิษจากบ่อฝังกลบขยะซึมลงน้ำใต้ดินโดยใช้น้ำยางธรรมชาติ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 101-109.

ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. 2555. การใช้น้ำยางวัลคาไนซ์เพื่อพัฒนาคุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกผสมเศษพลาสติกเอทธิลีนไวนิลอะซิเตท. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 8. สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย (สคท.), ชลบุรี. 303 หน้า

พงศ์พัน วรสุนทโรสถ. 2540. วัสดุก่อสร้าง. ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ. 398 หน้า.
มงคลกร ศรีวิชัย ชายแดน พิรุณเดช ธีระพงษ์ วงค์สอน และจาตุรนต์ กาศมณี. 2557. การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 245-254.

สถาบันวิจัยยาง. 2556. สถานการณ์ราคายางพารา เดือนสิงหาคม 2556. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 6 หน้า.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). 2548. ประกาศการขอรับทุนโครงการวิจัยขนาดเล็กเรื่องยางพารา. โครงการวิจัยแห่งชาติ: ยางพารา ฝ่ายอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ. 7 หน้า.

American Society for Testing and Materials (ASTM). 2010. Annual Book of ASTM Standards. ASTM, Philadelphia. 1673 p.

Barlow, F.W. 1998. Rubber Compounding: Principles, Materials, and Techniques. 2nd edition. Harcel Dekker, Inc., New York. 312 p.

Edenbaum, J. 1992. Plastics Additives and Modifiers Handbook. Van Nostrand Reinhold, New York. 1113 p.

Herrero, S., P. Mayor and F. Hernández-Olivares. 2013. Influence of proportion and particle size gradation of rubber from end-of-life tires on mechanical, thermal and acoustic properties of plaster–rubber mortars. Materials and Design 47: 633–642.

Yuliestyan, A., A.A. Cuadri, M. García-Morales and P. Partal. 2016. Influence of polymer melting point and melt flow index on the performance of ethylene-vinyl-acetate modified bitumen for reduced-temperature application. Materials and Design 96: 180–188.