แผ่นผนังไม้เทียมที่ทำจากต้นมันสำปะหลังเหลือทิ้งผสมซีเมนต์

Main Article Content

ผกามาศ ชูสิทธิ์
ภาณุเดช ขัดเงางาม
กิตติพงษ์ สุวีโร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เศษต้นมันสำปะหลังผสมปูนซีเมนต์สำหรับเป็นแผ่นผนังไม้เทียม โดยใช้อัตราส่วนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1: ทรายละเอียด: น้ำประปา เท่ากับ 1: 0.5: 0.416  โดยน้ำหนัก อัตราส่วนต้นมันสำปะหลังต่อปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เท่ากับ 0.05, 0.06, 0.07, 0.08, 0.09 และ 0.10 โดยน้ำหนัก ทำการย่อยต้นมันสำปะหลังให้มีขนาดผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ด้วยเครื่องบดพลาสติก ขึ้นรูปด้วยการอัดส่วนผสมลงในแบบหล่อที่อุณหภูมิห้อง (30 – 35 องศาเซลเซียส) ใช้ความหนาแน่น 0.75 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร ทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก.878-2537 เรื่องแผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์: ความหนาแน่นสูง พบว่า ต้นมันสำปะหลังที่ย่อยผสมกับปูนซีเมนต์ สามารถขึ้นรูปเป็นแผ่นผนังไม้เทียมและมีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ดี โดยเฉพาะความเป็นฉนวนป้องกันความร้อน

Article Details

How to Cite
[1]
ชูสิทธิ์ ผ., ขัดเงางาม ภ. และ สุวีโร ก. 2018. แผ่นผนังไม้เทียมที่ทำจากต้นมันสำปะหลังเหลือทิ้งผสมซีเมนต์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 3 (มิ.ย. 2018), 441–450.
บท
บทความวิจัย

References

สำนักบริหารการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป. 2555. มันสำปะหลังกับวิถีชีวิตคนไทย. กรมการค้าต่างประเทศ, กรุงเทพฯ. 39 หน้า.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2539. ไม้อัดซีเมนต์. อุตสาหกรรมสาร 39: 34 - 38.

ธนัญชัย ปคุณวรกิจ พันธุดา พุฒิไพโรจน์ วรธรรม อุ่นจิตติชัย และพรรณจิรา ทิศาวิภาต. 2549. ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของฉนวนอาคารจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง 3(4): 119 - 126.

ประชุม คำพุฒ กิตติพงษ์ สุวีโร นิรมล ปั้นลาย และธงเทพ ศิริโสดา. 2558. การใช้เศษหินภูเขาไฟในผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 115-122.

ปริญญา จินดาประเสริฐ และ ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. 2551. ปูนซีเมนต์ ปอซโซลาน และคอนกรีต. พิมพ์ครั้งที่ 5. ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐาน, กรุงเทพฯ. 369 หน้า.

วรธรรม อุ่นจิตติชัย. 2554. เส้นทางของเศษฟางข้าว วัสดุทดแทนไม้ที่มีอนาคต. สำนักวิจัยและการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 180 หน้า.

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. 2551. ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจเส้นทางบรรเทาภาวะโลกร้อน. จดหมายข่าวสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย 1: 54 – 60.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.). 2537. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เรื่องแผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์ความหนาแน่นสูง มอก. 878-2537. กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ. 17 หน้า.

อมเรศ บกสุวรรณ และประชุม คำพุฒ. 2552. การศึกษาการผลิตแผ่นไม้อัดเทียมจากเปลือกทุเรียน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.), กรุงเทพฯ. 21 หน้า.

American Society for Testing and Materials (ASTM). 2010. Annual Book of ASTM Standards. ASTM, Philadelphia. 1,673 p.

Bledzki, A.K. and J. Gassan. 1999. Composites reinforced with cellulose based fibers. Progress in Polymer Science 24(2): 221-274.

Faherty, K.F. and T.G. Williamson. 1995. Wood Engineering and Construction Handbook. Second Edition. McGraw-Hill, Inc, New York. 912 p.

Pablo, A.A. 1989. Wood cement boards from wood wastes and fast-growing plantation species for lowcost housing. The Philippine Lumberman 35: 8–53.