ผลกระทบทางสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการปลูกยาสูบของเกษตรกรตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ณิชารีย์ ใจคำวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบทางสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบทางสุขภาพด้านร่างกาย จากการใช้สารเคมีในการปลูกยาสูบของเกษตรกร ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย รูปแบบการศึกษาเป็นวิจัยแบบผสมโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบอย่างมีระบบจำนวน 250 คน จากประชากร 605 คน และเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก 50 คน ในตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้ประเด็นวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก อภิปรายกลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สารเคมี มีผลกระทบทางจิตใจมากที่สุด รองลงมาคือทางจิตวิญญาณ สังคม และทางกาย พฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่ปลอดภัยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับผลกระทบทางสุขภาพทางกาย (r = 0.743) พฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่ปลอดภัย (r = 0.808) พฤติกรรมการจัดเก็บอุปกรณ์และตรวจสอบความปลอดภัย (r = 0.740)

Article Details

How to Cite
[1]
ใจคำวัง ณ. 2018. ผลกระทบทางสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการปลูกยาสูบของเกษตรกรตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4, 3 (มิ.ย. 2018), 401–416.
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2556. ภูมิปัญญาชาวบ้านในการลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.pcd.go.th/public/Publica tions/template/peticide_wisdom56.pdf (21 มีนาคม 2559).

จิรวัฒน์ เจริญสถาพรกุล. 2553. ผลตอบแทนและต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์การปลูกยาสูบพันธ์เบอร์เลย์ ในตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร 18(2): 37-49.

จิรวัฒน์ เจริญสถาพรกุล. 2555. สุขภาพของผู้ปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์: ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่ควรตระหนัก. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, นครนายก. 79 หน้า.

เจียระไน ปาลี. 2556. พฤติกรรมและผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่ปลูกยาสูบ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 98 หน้า.

ปณิตา คุ้มผล. 2554. โรคพิษจากสารกําจัดศัตรูพืช ปี พ.ศ. 2552. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2011/ main/wesr_2554/wk54_17.pdf (11 กุมภาพันธ์ 2559).

พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. 2554. การเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการเกษตร: กรณีศึกษาตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์. 98 หน้า.

พิบูล อิสสระพันธุ์ และภูษณิศา ฉลาดเลิศ. 2558. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการซื้อสารกำจัดศัตรูพืช และอัตราการเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ด้วยโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชของประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2557. วารสารควบคุมโรค 41(4): 297-308.

ลำพันธ์ อินทร์กอง. 2553. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องความเชื่อด้านสุขภาพพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อาการเจ็บป่วยทางกายและระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรปลูกยาสูบ. พุทธชินราชเวชสาร 28(1): 41 - 50.

วิทญา ตันอารีย์ และสามารถ ใจเตี้ย. 2554. การประเมินผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการปลูกพืชไร่เขตเทศบาลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่. 78 หน้า.

สถานีทดลองยาสูบแม่โจ้. 2553. คู่มือการเพาะปลูกยาสูบเวอร์จิเนียตามแนวทางเกษตรที่ดีและเหมาะสม. สถานีทดลองยาสูบแม่โจ้, เชียงใหม่. 58 หน้า.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2554. บทสรุปสําหรับผู้บริหารโครงการศึกษาเพื่อจัดทําแผนบูรณาการพัฒนาพื้นที่สูงในลุ่มน้ำปิงและลุ่มน้ำน่าน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.hrdi.or.th/public/files/studyre port/2-Executive-Summary.pdf (11 กุมภาพันธ์ 2559).

สมนึก ปัญญาสิงห์ เศกสรรค์ ยงวณิชย์ และพุทธรักษ์ ปราบนอก. 2557. ตัวแบบการจัดการการพัฒนาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 11 - 22.

สิริภัณฑ์กัญญา เรืองไชย. 2553. ผลกระทบของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ ในเขตพื้นที่ตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 143 หน้า.

สิริภัณฑ์กัญญา เรืองไชย และยรรยงค์ อินทร์ม่วง. 2554. ผลกระทบของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ ในเขตพื้นที่ตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 18(1): 48 - 60.

สุภางค์ จันทวานิช. 2554. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ พิมพ์ครั้งที่ 10. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 177 หน้า.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. 2557. ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://envocc.ddc. moph.go.th/contents/view/106 (21 มีนาคม 2559).

El-Taher, A. and S.S. Althoyaib. 2012. Natural radioactivity levels and heavy metals in chemical and organic fertilizers used in Kingdom of Saudi Arabia. Applied Radiation and Isotopes 70(1): 290-295.

Frost, H.L. and L.H. Ketchum, Jr. 2000. Trace metal concentration in durum wheat from application of sewage sludge and commercial fertilizer. Advances in Environmental Research 4(4): 347-355.

Gimeno-Garcia, E., A. Vicente and R. Boluda. 1995. Heavy metals incidence in the application of inorganic fertilizers and pesticides to rice farming soils. Environmental Pollution 92(1): 22-23.

Krejcie, R. V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurements 30: 607-610.

Lugon - Moulin, N., F. Martin, M.R. Krauss, P.B. Ramey and L. Rossi. 2006. Cadmium concentration in tobacco (Nicotiana tabacum L.) from different countries and its relationship with other elements. Chemosphere 63(7): 1074 – 1086.