การประเมินการจัดการความเป็นโรงเรียนสีเขียวในจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการประเมินการจัดการความเป็นโรงเรียนสีเขียวของโรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลกตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2555) จำนวน 200 โรงเรียน จากโรงเรียนทั้งหมด 443 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนขนาดเล็ก 79 โรงเรียน ขนาดกลาง 86 โรงเรียน และโรงเรียนขนาดใหญ่ 35 โรงเรียน ผลการศึกษา พบว่ามีโรงเรียนที่ผ่านมาตรฐานการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับดีเยี่ยมร้อยละ 46 รองลงมาอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 22 และระดับผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 16 อย่างไรก็ตามยังมีโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร้อยละ 16 โดยพบว่าโรงเรียนยังขาดการจัดการสิ่งแวดล้อมอาคารสีเขียวมากที่สุด รองลงมาจะเป็นปัญหาเรื่องจำนวนครูที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาในแต่ละโรงเรียนมีจำนวนน้อย รวมไปถึงความพร้อมด้านบุคลากรในการเรียนการสอนขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะพบปัญหาเหล่านี้ได้ในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางมากกว่าร้อยละ 50
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. 2557. กฟผ. มอบรางวัล “โรงเรียนคาร์บอนต่ำ” และ “โรงเรียนสีเขียว ประจำปี 2557” ตอบแทนความมุ่งมั่นบริหารจัดการด้านพลังงานภายในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id =798:csrnews-20141215-01&catid=32:news-csr&Itemid=169. (19 กันยายน 2558).
ชลายุทธิ์ ครุฑเมือง. 2551. รายงานวิจัย สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 136 หน้า.
ชัยวัฒน์ สกุณา. 2540. การศึกษาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก. 186 หน้า.
ณัฐธยาน์ สนินัด. 2553. สภาพและปัญหาการจัดการปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 151 หน้า.
ทรรศนีย์ วราห์คำ. 2554. การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม สังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ. กรุงเทพมหานคร. 109 หน้า.
ธเนศ ขำเกิด. (2533). การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน. มิตรครู. 8(4): 30-35.
พระครูวิชัยคุณวัตร ชาสมบัติ. 2559. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียนตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: โรงเรียนพังงูพิทยาคม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 4(2): 261-272.
วิชาญ สุวรรณวงศ์. 2549. การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 ตามการรับรู้ของครู. วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี. 148 หน้า.
ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. 2552. การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นกับสถานศึกษา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. kruinter.com/data/11-05-09_2.pdf. (11 ตุลาคม 2558).
อุบลรัตน์ หยาใส่ และจิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. 2557. แนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2(3): 233-243.
Thaischool. 2010. ศูนย์รวมเว็บไซต์โรงเรียนในประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.thaischool.in.th /sitemap.php. สืบค้นเมื่อวันที่ (19 กันยายน 2558).