ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและตรวจสอบความเหมาะสมของปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัย โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน และ การศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ 4 แห่ง ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของปัจจัย โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรม LISREL กลุ่มตัวอย่าง 600 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี 6 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) การบริหารจัดการ (2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (3) การจัดกระบวนการเรียนรู้ (4) อาคารสถานที่ (5) การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และ (6) การเมืองท้องถิ่น 2) โมเดลโครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 230.94, df = 178, p-value = 0.00 GFI = 0.97, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.02, CN = 557.42 ค่าน้ำหนักของปัจจัยทุกปัจจัยเป็นบวกอยู่ระหว่าง 0.46 - 0.98 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีสมการปัจจัยคือ FE = 0.90(MA) + 0.98(SH) + 0.84(TE) + 0.89(PL) + 0.84(PR) + 0.46(LP) งานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีประสิทธิผลต่อไป
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2551. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. ธรรมสาร, กรุงเทพฯ. 524 หน้า.
กำจร ตติยกวี. 2558. งานวิจัยกับการพัฒนาประเทศ. วารสารวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3(1): 1 - 4.
ขวัญใจ สุดรัก. 2553. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี ตามทัศนะของนายกองค์กรบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการกองการศึกษา หัวหน้าส่วนการศึกษา / นักวิชาการศึกษา และครูผู้ดูแลเด็ก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี. 138 หน้า.
ธนิดา ปัทมพรพงศ์. 2558. การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา: ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแก้งคร้อ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. สถาบันส่งเสริมการบริหารการบ้านเมืองที่ดี, กรุงเทพฯ. 35 หน้า.
นฤมล ศรีบุญเรือง. 2556. คุณลักษณะของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรบริหารส่วนตําบล (อบต.). ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร 15(2): 1-8.
ประสม มารศรี. 2557. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1(1): 359-369.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 2542. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก.. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กรุงเทพฯ. 23 หน้า.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. 2542. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กรุงเทพฯ. 66 หน้า.
พีรพัฒน์ มุมอ่อน. 2557. ความสําเร็จของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตําบลโนนข่า อําเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสาร Graduate Research Conference. 1(1): 3105-3112.
สถาพร จินดาเดช. 2546. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย. 4(7): 1-19.
สมเจตน์ ภูศรี และคณะ. 2551. การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2(1): 11-28.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). 2553. สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็ก ปีงบประมาณ พ.ศ.2553. รายงานการวิจัย. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, กรุงเทพฯ. 86 หน้า.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2550. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย 0-5 ปี ระยะยาว พ.ศ. 2550-2559. วี ที ซี คอมมินิเคชั่น, กรุงเทพฯ. 45 หน้า.
สุชาดา สมสวนจิตร. 2547. การศึกษาปัญหาอุปสรรคและปัจจัยการดําเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตําบลอําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. 81 หน้า.
สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. 2552. สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. เจริญดีมั่นคง, กรุงเทพฯ. 404 หน้า.
อาทิตยา ศรีธิพันธ์. 2554. การจัดปัจจัยบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์การบริหารส่วนตำบลสันผีเสื้อ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 98 หน้า.