ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยของประชาชน อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

กุสุมาลย์ น้อยผา
วิทวัส หมาดอี
ปิยะนุช สุวรรณรัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยของประชาชน อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวแตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน  พบว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยของประชาชนในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง อยู่ในระดับปานกลาง  ปัจจัยนำได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทย ปัจจัยเอื้อได้แก่ การเข้าถึงแหล่งบริการด้านการดูแลสุขภาพตนเองและการสนับสนุนหรือกิจกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองในชุมชนด้วยการแพทย์แผนไทย และปัจจัยเสริมได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อจากแหล่งต่างๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

Article Details

How to Cite
[1]
น้อยผา ก., หมาดอี ว. และ สุวรรณรัตน์ ป. 2019. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยของประชาชน อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7, 1 (ม.ค. 2019), 59–68.
บท
บทความวิจัย

References

จุฑารัตน์ เสรีวัตร กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. 2553. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยในนักศึกษา คณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 8(1): 76-80.
จรรจิรา ม้องพร้า กนกพร ใจศิริ กุลนันท์ มั่นคง นุสนี เจ๊ะดอ วิทวัส หมาดอี กุสุมาลย์ น้อยผา. 2561. “ความพร้อมในการให้บริการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง,” ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติด้านศิลปศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2561. วันที่ 29 ถึง 30 มีนาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา. สงขลา: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (proceeding)
ณัฐวรรณ วรพิสุทธิวงศ์. 2554. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการแพทย์แผนไทยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เนตรดาว จิตโสภากุล. 2557. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ที่ 6 ตำบลบึงศาลอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 6(3): 171-178.
วิชชุตา มัคสิงห์ นอลีสา โต๊ะยุโส๊ะ จิรกานต์ พันธ์ฤทธิ์ดำ. 2559. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของเด็กวัยเรียนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 3(3): 65-76.
วาสนา สิทธิกัน สายหยุด มูลเพ็ชร์ สามารถ ใจเตี้ย. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่งอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. ลำปางเวชสาร 38(2): 49-58.
สุคนธ์ธิกา นพเก้า ภูดิท เตชาติวัฒน์ ปัทมา สุพรรณกุล ศันศนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. 2560. ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิถีการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 11(2): 1-10.
สุริยา ฟองเกิด สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา มนทรา ตั้งจิรวัฒนา สิบตระกูล ตันตลานุกูล. 2560. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 27(special issue): 196-209.
อับดุลเลาะห์ ยศนุ้ย ซูไฮมิง หะยีสือนิ นูรฮาณีฟาร์ ตันยีนายู นูรีซัน หลีสัน วิทวัส หมาดอี วิทยา เรืองเดช กุสุมาลย์ น้อยผา. 2561. “การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย: กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุบ้านบ่อทราย จังหวัดพัทลุง,”ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติด้านศิลปศาสตร์ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2561. วันที่ 29 ถึง 30 มีนาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา. สงขลา: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (proceeding)
Green, L.W. & Kreuter, M.W. (1991). Health Promotion Planning: An Educational and Environmental Approach (2nd ed). Toronto: Mayfield Publishing Company. 506 p.
Pender, N.J. (2006). Health Promotion in Nursing Practice (5th ed). Upper Saddle River, NJ: Pearson/Prentice Hall. 367 p.
Porter, C.M. 2015. Revisiting Precede–Proceed: A leading model for ecological and ethical health promotion.   Health Education Journal 75(6): DOI: 10.1177/0017896915619645.