ตัวแบบการจัดการกลุ่มผู้ปลูกสับปะรด: กรณีศึกษา เกษตรกร ผู้ปลูกสับปะรด บ้านเสด็จ ตำบลพิชัย จังหวัดลำปาง

Main Article Content

กนกวรรณ เวชกามา

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด บ้านเสด็จ ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกร และเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง 176 คน พบว่า 1. การจัดการกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในพื้นที่ศึกษาสามารถแบ่งรูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มโดยการเป็นกลุ่มผู้ปลูกสับปะรด กลุ่มผู้ปลูกและรับซื้อ และกลุ่มสมาชิกสหกรณ์กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดลำปาง 2. รูปแบบการจัดการแบบอิสระของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดที่ได้จากการเก็บข้อมูลด้าน ปัญหา อุปสรรค และสิ่งพึงประสงค์ และการถอดบทเรียนจากกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงแบบสอบถามแบบสอบถาม ในด้านการวางแผน การจัดองค์กร การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ การประสานงานงบประมาณ การรายงานผล และด้านการตลาด ผลลัพธ์คือรูปแบบการประสานงานกับแต่ละกลุ่มของเกษตรกรแต่ละกลุ่มอันจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาคีที่มีการวางแผนในอนาคตเพื่อการพัฒนาชุมชนผู้ปลูกสับปะรดซึ่ง เป็นรูปแบบที่นำมาทดลองใช้ในกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดในพื้นที่และผลจากการทดลองใช้คือ กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในระดับมากในด้านการบริหารจัดการพื้นที่ปลูกสับปะรด

Article Details

How to Cite
[1]
เวชกามา ก. 2018. ตัวแบบการจัดการกลุ่มผู้ปลูกสับปะรด: กรณีศึกษา เกษตรกร ผู้ปลูกสับปะรด บ้านเสด็จ ตำบลพิชัย จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 3 (ส.ค. 2018), 605–612.
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ เวชกามา. 2557. การพัฒนาการจัดการกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีดแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมบ้านหนองหล่าย ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 89-96.

ธวัช ภูษิตโภไคย. 2550. ความโปร่งใสจะเป็นจริงได้อย่างไร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.theiiat.or.th/Knowledge (12 มีนาคม 2558)

ประทีป พืชทองกลาง และอภิริยา นามวงศ์พรหม. 2556. รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มผู้ผลิตโคมล้านนา ชุมชนเมืองสาตร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 129-139.

สนานจิตร สุคนธทรัพย์. 2544. เอกสารการสอนชุดวิชา การวางแผนพัฒนาโรงเรียน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี. 278 หน้า.

สหกรณ์ผู้ปลูกสับปะรดลำปาง. 2556. ประวัติความเป็นมา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.coopthai.com/sabparod/contact.html (12 เมษายน 2558)

สำนักงานเทศบาลตำบลพิชัย. 2557. แผนพัฒนาประจำปี 2557. (ระบบออนไลน์). แห่ลงข้อมูล: http://www.pichaicity.go.th/ (12 มีนาคม 2558).

สุวรรณ บัวพันธ์. 2543. การพัฒนาเครือข่ายกลุ่มอาชีพของกลุ่มเกษตรกร ตำบลสันทราย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 122 หน้า.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. 2560. การต่อยอดวิสาหกิจชุมชนและสวัสดิการชุมชนเพื่อการจัดการชุมชนทุ่งตำเสา. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(2): 360.

วิทยา จันทะวงศ์ศรี. 2547. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 150 หน้า.

Lamond, D, “A Matter of Style: Reconciling Henri and Henry,” Management Decision 42, no. 2 (2004): 330–56.

Robin S.P. 1990. Organization theory structure, design, and applications. (3rd edition)