การพัฒนาการใช้กากเหลือก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นวัตถุดิบต้นทุนต่ำ ในอาหารกุ้งก้ามกราม

Main Article Content

Daovieng Yaibouathong
สุธิดา วันโน
สุพันธ์ณี สุวรรณภักดี
วิรวุฒิ แต้มประสิทธิ์
พรพิมล พิมลรัตน์
นิวุฒิ หวังชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กากเหลือก๊าซชีวภาพในอัตราส่วนต่างกัน เพื่อทำอาหารต้นทุนต่ำต่ออัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอด ผลผลิตเฉลี่ย และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุด คือ T1 (ชุดควบคุม ไม่มีส่วนผสมกากเหลือ) T2 (ผสมกากเหลือ 10%) T3 (ผสมกากเหลือ 20%) และ T4 (ผสมกากเหลือ 30%) อาหารทดลองมีโปรตีนในอาหาร 26.7 - 27.4% เลี้ยงในกระชังขนาด 3x3x1.5 ลูกบาศก์เมตร ในบ่อดิน ระยะเวลาทดลอง 80 วัน ผลการวิจัย พบว่า กุ้งก้ามกรามทุกชุดการทดลองให้ผลอัตราการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน (P >0.05) ซึ่งบ่งชี้ได้ว่ากากเหลือก๊าซชีวภาพสามารถใช้เป็นวัตถุดิบอาหารในอาหารกุ้งก้ามกรามได้ ส่วนอัตราการรอด ผลผลิตเฉลี่ย และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ของ T2 (ส่วนผสมของกากเหลือ 10%) ให้ผลเฉลี่ยดีที่สุด ดังนั้น จากการวิจัยสรุปได้ว่า ปริมาณที่เหมาะสมของกากเหลือก๊าซชีวภาพในอาหารกุ้งก้ามกรามคือ 10%

Article Details

How to Cite
[1]
Yaibouathong, D., วันโน ส., สุวรรณภักดี ส., แต้มประสิทธิ์ ว., พิมลรัตน์ พ. และ หวังชัย น. 2018. การพัฒนาการใช้กากเหลือก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นวัตถุดิบต้นทุนต่ำ ในอาหารกุ้งก้ามกราม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 1 (มิ.ย. 2018), 186–192.
บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง. 2546. สรุปข้อมูลประมาณการปริมาณสัตว์น้ำ ปี 2545. ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง, กรุงเทพ. 24 หน้า.

จงกล พรมยะ. 2558. กรรมวิธีการคงสภาพสาหร่ายสไปรูลิน่าสด เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในอาหารปลาแฟนชีคาร์ฟ. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต3(2): 215-228.

นิวุฒิ หวังชัย. 2557. การพัฒนาสูตรอาหารปลาและเทคนิคการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานเพื่อสร้างอาชีพในชุมชนรอบโรงไฟฟ้าเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, กรุงเทพ. 21หน้า.

ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ. 2547. การใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาป่นในอาหารกุ้งก้ามกราม Macrobrachium rosenbergii (de Man). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://rdi.ku.ac.th/bk/15/index15.htm (17 มกราคม 2558).

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ องอาจ ส่องสี บุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2549. การผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อลดมลภาวะและเป็นแหล่งพลังงานทดแทนสำหรับเกษตรกรรายย่อย. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กรุงเทพฯ. 102 หน้า.

พุทธ ส่องแสงจินดา. 2557. คู่มือการเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) แบบพัฒนา. กรมประมง, กรุงเทพ. 28 หน้า.

พิเชต พลายเพชร (2558) การจัดการทางโภชนาการสำหรับการอนุบาล และการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม วารสารเกษตร 31(1): 89-105.

Craig, J. C. 2000. Phospholipids in shrimp Aquafeeds. (Online). Available: pdf.gaalliance.org/pdf/GAA-Russett-Oct00.pdf (January 16, 2016).

Kanazawa, A., M. Shimaya, M. Kawasaki and K. Kashiwada. 1970. Nutritional requirement of prawn I Feeding on artificial diet. Bulletin of the Japanese Society of Scientific Fisheries 36: 949-954.

Lovell, T. 1989. Nutrition and Feeding of Fish. Van Nostrand Reinhold, New York. 260 p

Mendoza R., A. De dios, C. Vazquez, E. Cruz, D. Ricque, C. Aguilera and J. Montemayor. 2001. Fishmeal replacement with feather-enzymatic hydrolyzates co-extruded with soya-bean meal in practical diets for the Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei). Aquaculture Nutrition 7(3): 143-151.