การพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดตับเต่าในน้ำเกลือบรรจุขวดแก้วของตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

วชิรญา เหลียวตระกูล
วิจิตรา เหลียวตระกูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดตับเต่าในน้ำเกลือบรรจุขวดแก้ว ศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ และอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ โดยปกติชุมชนสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำหน่ายเห็ดตับเต่าในรูปแบบเห็ดสด และมีจำหน่ายเฉพาะในฤดูกาลเท่านั้น ผลทางวิจัยพบว่า ชุมชนมีความต้องการแปรรูปเห็ดตับเต่าในน้ำเกลือบรรจุขวดแก้ว ซึ่งทำให้เห็ดตับเต่ามีมูลค่าสูงขึ้น เก็บรักษาได้นานขึ้นและสามารถจำหน่ายเห็ดตับเต่านอกฤดูกาลได้ จึงได้ทำการศึกษาระดับความเข้มข้นของน้ำเกลือร้อยละ 1 1.5 และ 2 พบว่าปริมาณสารประกอบ
ฟีนอลิกทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของเห็ดตับเต่าลดลงเล็กน้อยเมื่อความเข้มข้นของน้ำเกลือเพิ่มขึ้น โดยเห็ดตับเต่าในน้ำเกลือร้อยละ 1 มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระคงอยู่มากที่สุดคือร้อยละ 42.09 และ 74.49 เทียบกับเห็ดตับเต่าสดตามลำดับ เมื่อเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิห้องไม่พบปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดในผลิตภัณฑ์ตลอด 6 เดือน จากการอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปเห็ดตับเต่าในน้ำเกลือบรรจุขวดแก้วพบว่าชุมชนสามารถนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพและทำให้เกิดรายได้เสริมของครอบครัว

Article Details

How to Cite
[1]
เหลียวตระกูล ว. และ เหลียวตระกูล ว. 2018. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดตับเต่าในน้ำเกลือบรรจุขวดแก้วของตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 1 (มิ.ย. 2018), 174–185.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. 2535. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2535) เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, กรุงเทพฯ. 5 หน้า.

ทศพร นามโฮง. 2557. การแปรรูปเห็ดตับเต่า. รายงานการวิจัย. คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา, พระนครศรีอยุธยา. 38 หน้า.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเห็ดดอง (มผช. 286/2547). สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ. 5 หน้า.

สุกัญญา ดวงอุปมา ภัทราพร ภาระนาค และ ปารีณา แอนเดอร์สัน. 2559. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืนของครัวเรือนเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านโนนสง่า ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2): 212-223.

Association of Official Analytical Chemists (AOAC). 2000. Official Methods of Analysis of the Association of the Official Analysis Chemists. 15th ed. AOAC International. Arlington, Virginia, USA.

Choi, Y., S.M. Lee, J. Chun, H.B. Lee and J. Lee. 2006. Influence of heat treatment on the antioxidant activities and polyphenolic compounds of Shiitake (Lentinus edodes) mushroom. Food Chemistry 99(2): 381-387.

Lim, Y.Y., T.T. Lim and J.J. Tee. 2007. Antioxidant properties of several tropical fruits: A comparative study. Food Chemistry 103(3): 1003–1008.
Mahattanatawee, K., J.A. Manthey, G. Luzio, S.T. Talcott, K. Goodner and E.A. Baldwin. 2006. Total antioxidant activity and fiber content of select Florida-grown tropical fruits. Journal of Agricultural and Food Chemistry 54(19): 7355-7363.

Manzi, P., S. Marconi, A. Aguzzi and L. Pizzoferrato. 2004. Commercial mushrooms: Nutritional quality and effect of cooking. Food Chemistry 84(2): 201-206.

Murcia, M.A., A.M. Jiménez and M. Martínez-Tomé. 2009. Vegetables antioxidant losses during industrial processing and refrigerated storage. Food Research International 42(8): 1046-1052.

Quitao-Teixeira, L.J., I. Odriozola-Serrano, R. Soliva-Fortuny, A. Mota-Ramos and O. Martin-Belloso. 2009. Comparative study on antioxidant properties of carrot juice stabilised by high-intensity pulsed electric fields or heat treatments. Journal of the Science of Food and Agriculture 89(15): 2636-2642.

Seehanan, S and V. Petcharat. 2008. Some species of wild boletes in Thailand. International Journal of Agricultural Technology 4(1): 109-118.

Tsai, S.Y., H.L. Tsai and J.L. Mau. 2008. Non-volatile taste components of Agaricus blazei, Agrocybe cylindraceae and Boletus edulis. Food Chemistry 107(3): 977-983.

Wang, D., S.Q. Sun, W.Z. Wu, S.L. Yang and J.M. Tan. 2014. Characterization of a water–soluble polysaccharide from Boletus edulis and its antitumor and immunomodulatory activities on renal cancer in mice. Carbohydrate Polymers 105: 127-134.

Wu, L.C., H.W. Hsu, Y.C. Chen, C.C. Chiu, Y.I. Lin and J.A.A. Ho. 2006. Antioxidant and antiproliferative activities of red pitaya. Food Chemistry 95(2): 319-327.

Zanoni, B., E. Pagliarini, G. Giovanelli and V. Lavelli. 2003. Modelling the effects of thermal sterilization on the quality of tomato puree. Journal of Food Engineering 56(2): 203-206.