การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหนมซี่โครงหมูอ่อนสำหรับกลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรี เทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แหนมซี่โครงหมูอ่อน สำหรับกลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรีเทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ การทดลองประกอบด้วยการศึกษาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบผู้บริโภค การเผยแพร่เทคโนโลยี และการขยายผลองค์ความรู้แก่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังธาร สูตรที่เหมาะสมประกอบด้วยซี่โครงหมูอ่อน ร้อยละ 82.29 ข้าวเหนียวนึ่ง ร้อยละ 8.22 กระเทียม ร้อยละ 8.22 เกลือ ร้อยละ 1.23 และผงเพรก (เกลือ: โซเดียมไนไตรท์ ร้อยละ 94: 6) ร้อยละ 0.04 ผลการทดสอบผู้บริโภค พบว่าผู้บริโภคร้อยละ 99 ยอมรับผลิตภัณฑ์ และร้อยละ 98 เต็มใจซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมีคะแนนความชอบเฉลี่ยด้านสี กลิ่นรส รสเปรี้ยว รสเค็ม และความชอบรวม 7.46, 0.98, 7.47, 1.16, 7.48, 1.07, 7.37, 1.14 และ 7.69, 0.90 ตามลำดับ ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่กลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรีเทศบาลเมืองต้นเปา ผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.60 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ผลการอบรมการผลิตแหนมซี่โครงหมูอ่อนแก่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านวังธาร ผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจด้านความรู้และประโยชน์ที่ได้รับ 4.88 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
จารุวรรณ มณีศรี. 2551. เทคโนโลยีอาหารหมัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. โฟร์เพซ, กรุงเทพฯ. 247 หน้า.
ปิ่นมณี ขวัญเมือง. 2554. การพัฒนาการหมักแหนมซี่โครงหมูและแหนมปีกกลางไก่โดยใช้กล้าเชื้อและสมุนไพรในครัวเรือน. รายงานวิจัย. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,กรุงเทพฯ. 51 หน้า.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. ม.ป.ป.. แหนม. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1942/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%A1-neam (26 มีนาคม 2556).
ศิวาพร ศิวเวชช. 2546. วัตถุเจือปนอาหาร (เล่ม 1). ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 380 หน้า
สุมณฑา วัฒนสินธุ์. 2549. จุลชีววิทยาทางอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. 436 หน้า.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เลขที่ 295/2547 เรื่องแหนมซี่โครง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0295_55 (%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b9).pdf (2 ตุลาคม 2556).
โสมศิริ สมถวิล และ สุจินดา ศรีวัฒนะ. 2555. การใช้สเกลความพอดีในการปรับสูตรไส้อั่ว. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50: สาขาอุตสาหกรรมเกษตร วันที่ 31 มกราคม- 2 กุมภาพันธ์ 2555, กรุงเทพมหานคร. 167-174.
อุมาพร ศิริพินทุ์. 2555. เอกสารประกอบบทเรียน ทอ. 470 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เนื้อ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://coursewares.mju.ac.th:
81/e-learning46/ft470/cp/cp_008.html (26 มีนาคม 2556).
อลิษา ปันนู และ มนทกานติ์ บุญยการ. 2556. แหนมบรรจุรีทอร์ตเพาช์. รายงานวิจัย. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ. 217 หน้า.
อำนวย ผู่ตระกูล. 2550. การทำแหนม. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/45301/45301.html (28 มีนาคม 2556).