ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนานโยบายเกษตรอินทรีย์ขององค์กรปกครองท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน และเทศบาลตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พงศกร กาวิชัย
สมคิด แก้วทิพย์
ปรารถนา ยศสุข
ชมชวน บุญระหงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางนโยบายเกษตรอินทรีย์ของท้องถิ่นทั้ง 2 แห่ง โดยเน้นกิจกรรมทางนโยบายและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้านเกษตรอินทรีย์ของชุมชน ผ่านการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การจัดอภิปรายกลุ่ม ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 55 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ซึ่งผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของกระบวนการนโยบายเกษตรอินทรีย์ของทั้ง 2 แห่ง ประกอบด้วย 1. บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นต่อกระบวนการทางนโยบายเกษตรอินทรีย์  และ 2. วิธีการขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายเกษตรอินทรีย์ขององค์กรปกครองท้องถิ่น สำหรับปัจจัยและความสัมพันธ์ของปัจจัย ด้านโครงสร้างสถาบัน องค์กร และกลุ่มในชุมชนของทั้ง 2 แห่ง ซึ่งมี 3 ปัจจัยย่อย ได้แก่ 1. ด้านโครงสร้าง อำนาจ และหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น (อบต.แม่ทา และ ทต.ลวงเหนือ)  2. ด้านโครงสร้าง อำนาจและหน้าที่ของกลุ่ม/องค์กรชุมชน (สถาบันทรัพยากรและการเกษตรยั่งยืน และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลลวงเหนือ) และ 3. ด้านโครงสร้าง อำนาจและหน้าที่ของหน่วยงาน/กลุ่มอื่นภายในชุมชน

Article Details

How to Cite
[1]
กาวิชัย พ., แก้วทิพย์ ส., ยศสุข ป. และ บุญระหงษ์ ช. 2018. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนานโยบายเกษตรอินทรีย์ขององค์กรปกครองท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน และเทศบาลตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5, 1 (มิ.ย. 2018), 142–154.
บท
บทความวิจัย

References

เกศสุดา สิทธิสันติกุล วราภรณ์ ปัญญาวดี ปรารถนา ยศสุข. 2559. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าไม้ในชุมชนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 12 (1): 28-45.

ทัศนา พฤติการกิจ. 2558. บริบทชุมชนภายใต้สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 9 (1): 7-15.

นพวรรณ บุญธรรม สุรพล ดำรงกิตติกุล ชมชวน บุญระหงษ์. 2558. สมาร์ท-วิลเลจ: ตัวแบบการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3 (3): 1-11.

บูชิตา สังข์แก้ว. 2559. บทสำรวจวรรณกรรมสากลเพื่อการคิดทบทวน: การพัฒนาการกระจายอำนาจและนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4 (1): 1-17.

ประเวศ วะสี. 2558. วิธีและกลไกยุทธศาสตร์ประชารัฐ. หมอชาวบ้าน, กรุงเทพฯ. 48 หน้า.

ปรารถนา ยศสุข. 2556. กระบวนการของการพัฒนานโยบายสาธารณะเกษตรอินทรีย์ในอาเซียน: กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 226 หน้า.

ภัทรพรรณ ทำดี. 2559. ทางเลือกภายใต้ระบบพันธสัญญาของเกษตรกรผู้ปลูกพืชอินทรีย์ในจังหวัดนครปฐม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4 (2): 171-187.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2555. นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. สำนักพิมพ์เสมาธรรม, กรุงเทพฯ. 588 หน้า.

สมพร เฟื่องจันทร์. 2552. นโยบายสาธารณะ: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. สำนักพิมพ์บริษัทออนอาร์ตครีเอชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ. 336 หน้า.

สุภางค์ จันทวานิช. 2556. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 177 หน้า

อัจฉรา ชลายนนาวิน. 2559. องค์กรแบบไม่เป็นทางการมิติใหม่ของแนวคิดการพัฒนาชุมชนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 (1):98-118.